จารึกปราสาททัพเสียม 2

จารึก

จารึกปราสาททัพเสียม 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2567 14:35:32 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาททัพเสียม 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Piédroits de Pràsàt Tẵp Siem (K. 234), หลักที่ 125 จารึกบนหลืบประตูที่ปราสาททัพเสียม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี, ปจ. 8, K. 234, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/289/2550

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 17

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 27 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

หลืบประตูรูปสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 44 ซม. สูง 105 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 8”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VI กำหนดเป็น “Piédroits de Pràsàt Tẵp Siem (K. 234)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 125 จารึกบนหลืบประตูที่ปราสาททัพเสียม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาททัพเสียม 2”
5) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/298/2550”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ปราสาททัพเสียม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 234.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 255.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 52-58.

ประวัติ

จารึกปราสาททัพเสียมหลักนี้ เป็นจารึกบนหลืบประตูด้านทิศใต้ของปราสาทองค์กลาง จารึกเป็นภาษาสันสกฤต ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กล่าวรวมกับจารึกหลักเลขที่ 125 (ปจ. 7) สรุปความว่า จารึกนี้เหมือนกับจารึกภาษาสันสกฤตที่ปราสาทสังแกโกง (Saŋkè Koŋ) แต่การใช้ตัวสะกดมักจะผิดพลาดมากกว่าการจารึกอักษรติดต่อกัน แต่ละบรรทัดจะเป็นลักษณะของคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้ว แต่ถ้าแยกอักษรข้อความในจารึกแต่ละบรรทัดออกเป็นบาทคาถาแล้ว จะเป็นบทร้อยกรองซี่งประกอบด้วยฉันทลักษณ์ต่างๆ ดังนี้คือ โศลกที่ 1, 8 และ 9 เป็นอุเปนทรวิเชียรฉันท์ โศลกที่ 2-5, 7 และ 11-13 เป็นอินทรวิเชียรฉันท์ โศลกที่ 6 และ 10 ในอุปชาติฉันท์

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึกกล่าวสรรเสริญพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 ว่าทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่เหนือกษัตริย์ทั้งหลาย พระองค์ทรงสร้างพระศิวลึงค์ เทวรูป (พระศิวะ) และพระเทวีไว้บนภูเขา

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 11 กล่าวถึง พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1656-1688

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) Goerge Cœdès, “Piédroits de Pràsàt Tẵp Siem (K. 234),” in Inscriptions du Cambodge vol. VI (Hanoi : Imprimerie d'Extrême-Orient, 1954), 234.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาททัพเสียม 2,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 52-58.
3) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 125 จารึกบนหลืบประตูที่ปราสาททัพเสียม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี,” แปลโดย ฉ่ำ ทองคำวรรณ จาก Piédroits de Pràsàt Tẵp Siem (K. 234), ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 255.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 22 ธันวาคม 2565