จารึกอรรถกถาชาดก ลำดับที่ 462 สังวรชาดก (ศาลารายหลังที่ 13 ศาลาวิมังสา)

จารึก

จารึกอรรถกถาชาดก ลำดับที่ 462 สังวรชาดก (ศาลารายหลังที่ 13 ศาลาวิมังสา)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2553 09:23:43 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 14 เม.ย. 2566 17:07:56 )

ชื่อจารึก

จารึกอรรถกถาชาดก ลำดับที่ 462 สังวรชาดก (ศาลารายหลังที่ 13 ศาลาวิมังสา)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ 13 ศาลาวิมังสา (ลำดับที่ 462)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 8 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหิน

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (2544) เรียกว่า “จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ 13 ศาลาวิมังสา (ลำดับที่ 462)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลารายหลังที่ 13 (ศาลาวิมังสา) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 193.

ประวัติ

จารึกอรรถกถาชาดก อยู่ในบริเวณศาลาราย 16 หลัง ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมมีภาพจิตรกรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือภาพดังกล่าวแล้ว สำหรับจารึกได้สูญหายไปบางส่วน เนื่องจากมีการรื้อศาลา 8 หลัง ส่วนที่เหลืออยู่ก็มีการเรียงลำดับอย่างไม่เป็นระเบียบ เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากการปฏิสังขรณ์วัดในสมัยหลัง ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายแล้วนำกลับไปติดไว้ผิดจากตำแหน่งเดิม จากการศึกษาของ นิยะดา เหล่าสุนทร พบว่า ศาลารายแต่ละหลังจะมีจารึกจำนวน 36 หรือ 39 เรื่อง จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยชาดก 1 เรื่อง เว้นแต่ชาดกเรื่องสำคัญบางเรื่องซึ่งใช้พื้นที่มากกว่า 1 แผ่น

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึง “สังวรชาดก” ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ครั้งเสวยพระชาติเป็นอาจารย์ของสังวรกุมาร โอรสองค์สุดท้องของพญาพาราณสี สังวรกุมารมีจริยาวัตรงดงาม สามารถผูกใจมหาชนด้วยสังคหวัตถุ เมื่อพระบิดาสิ้นพระชนม์จึงได้ราชสมบัติ ฝ่ายพระเชษฐาทั้ง 99 พระองค์ ก็ยกทัพมาหมายจะชิงราชสมบัติ พระเจ้าสังวรต้อนรับพระเชษฐาด้วยความอ่อนน้อม และแบ่งทรัพย์ให้พระเชษฐาอย่างยุติธรรม จึงพากันยกทัพกลับไป

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการเขียนภาพจิตรกรรมชาดก 550 เรื่อง โดยมีการจารึกประกอบไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2551, จาก :
1) “จดหมายเหตุ เรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
2) “อรรถกถาชาดก,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 141-202.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์, 2552-2554 (ไฟล์; DSC00151)