จารึกอรรถกถาชาดก ลำดับที่ 416 ปรันตปชาดก (ศาลารายหลังที่ 12 ศาลาเมตตา)

จารึก

จารึกอรรถกถาชาดก ลำดับที่ 416 ปรันตปชาดก (ศาลารายหลังที่ 12 ศาลาเมตตา)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2552 15:11:39 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 22:37:03 )

ชื่อจารึก

จารึกอรรถกถาชาดก ลำดับที่ 416 ปรันตปชาดก (ศาลารายหลังที่ 12 ศาลาเมตตา)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ 12 ศาลาเมตตา (ลำดับที่ 416)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)

วัตถุจารึก

หินอ่อน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหิน

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (2544) เรียกว่า “จารึกเรื่องศาลารายหลังที่ 12 ศาลาเมตตา (ลำดับที่ 416)”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ศาลารายหลังที่ 12 (ศาลาเมตตา) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 181.

ประวัติ

จารึกอรรถกถาชาดก อยู่ในบริเวณศาลาราย 16 หลัง ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เดิมมีภาพจิตรกรรมที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน แต่ปัจจุบันไม่หลงเหลือภาพดังกล่าวแล้ว สำหรับจารึกได้สูญหายไปบางส่วน เนื่องจากมีการรื้อศาลา 8 หลัง ส่วนที่เหลืออยู่ก็มีการเรียงลำดับอย่างไม่เป็นระเบียบ เข้าใจว่าเกิดขึ้นจากการปฏิสังขรณ์วัดในสมัยหลัง ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายแล้วนำกลับไปติดไว้ผิดจากตำแหน่งเดิม จากการศึกษาของ นิยะดา เหล่าสุนทร พบว่า ศาลารายแต่ละหลังจะมีจารึกจำนวน 36 หรือ 39 เรื่อง จารึกแต่ละแผ่นประกอบด้วยชาดก 1 เรื่อง เว้นแต่ชาดกเรื่องสำคัญบางเรื่องซึ่งใช้พื้นที่มากกว่า 1 แผ่น

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงปรันตปชาดก ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ ครั้งเสวยพระชาติเป็นบุตรพญาพาราณสี รู้ภาษาสัตว์ สั่งให้คนนำศพในน้ำไปถ่วงไม่ให้ลอยขึ้นมาให้สุนัขจิ้งจอกกิน จึงถูกสาปแช่งต่างๆ นานา ครั้งหนึ่งมีศึกมาประชิด พระโพธิสัตว์ยกพลออกรบ พระราชบิดาพามเหสีซึ่งทรงครรภ์หนีไปอยู่ในป่า มเหสีเป็นชู้กับทาสนามว่าปรันตปะ เมื่อกุมารประสูติและเจริญวัยขึ้น พระราชบิดาจึงบอกอุบายให้ฆ่าปรันตปะแล้วพากันกลับเข้าเมือง

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากประวัติการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งมีหลักฐานว่ามีการเขียนภาพจิตรกรรมชาดก 550 เรื่อง โดยมีการจารึกประกอบไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2551, จาก :
1) “จดหมายเหตุ เรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
2) “อรรถกถาชาดก,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 141-202.