อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหิน, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-หุงข้าวทิพย์, เรื่อง-ประวัติและตำนาน, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-รามัญหุงข้าวบูชาเทวดา,
โพสต์เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2552 13:12:16 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2565 14:58:06 )
ชื่อจารึก |
จารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์ แผ่นที่ 6 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด) |
วัตถุจารึก |
หินทรายสีเทา |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส |
ขนาดวัตถุ |
กว้างด้านละ 35.5 ซม. (เฉพาะแผ่นจารึก ไม่รวมกรอบ) หนา 5 ซม. |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
เฉลียงศาลาล้อมพระมณฑปทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 288. |
ประวัติ |
จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์ จำนวน 6 แผ่น บริเวณเฉลียงศาลาล้อมพระมณฑปทิศเหนือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ซึ่งเดิมมีจิตรกรรมที่สอดคล้องกับข้อความในจารึก แต่ปัจจุบันได้ลบเลือนไป |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงนิทานเรื่อง รามัญหุงข้าวทิพย์ ตั้งแต่ตอนพระยาพาราณสีจะเสด็จไปอุทยาน จนถึงตอนพระราชทานฐานันดรให้พระอัครมเหสีและพระโอรสดังเดิม กล่าวคือ พระยาพาราณสีโปรดให้นายเวรทางทำทางไปอุทยานให้เสร็จภายใน 1 วัน แต่ไม่สำเร็จ จึงสั่งให้เพชฌฆาตฆ่านายเวรทาง ภรรยานายเวรทางจึงไปขอน้ำเดนเทวดาจากพระอัครมเหสีรดศพให้ฟื้นขึ้น พระยาพาราณสีทรงทราบเรื่องจึงโปรดให้ไปรับนาง แล้วให้บูชาเทวดา เพื่อให้กษัตริย์ในชมพูทวีปทุกพระองค์มีพระชนม์ชีพอีกครั้ง จากนั้นจึงพระราชทานฐานันดรให้เป็นพระอัครมเหสีดังเดิม ส่วนพระโอรสโปรดให้เป็นพระยาอุปราช |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฏใน จดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส) ว่ามีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง มอญกวนข้าวทิพย์ (รามัญหุงข้าวทิพย์) โดยมีการสร้างจารึกประกอบไว้ใต้ภาพทุกแห่ง |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (2551) ; นวพรรณ ภัทรมูล (2556), แก้ไขเพิ่มเติม, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพจารึกจาก : ฐานข้อมูลจารึกวัดโพธิ์ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |