จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตน ท่าที่ 24 (ดำรงกายอายุศม์ยืน)

จารึก

จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตน ท่าที่ 24 (ดำรงกายอายุศม์ยืน)

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2550 10:05:59 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2566 14:44:29 )

ชื่อจารึก

จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตน ท่าที่ 24 (ดำรงกายอายุศม์ยืน)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ไม่ปรากฏหลักฐาน

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 745.

ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ปั้นประติมากรรมฤาษีดัดตนขึ้นจากดิน ซึ่งต่อมาได้ชำรุดลง ต่อมา ใน พ.ศ. 2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จึงโปรดให้ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 เป็นผู้ทรงกำกับช่างหล่อรูปฤาษีดัดตนขึ้นใหม่ จำนวน 80 ท่า ด้วยสังกะสีผสมกับดีบุกซึ่งเรียกว่า “ชิน” แล้วนำไปตั้งไว้ตามศาลารายภายในวัด โดยมีการจารึกโคลงสี่สุภาพจำนวน 80 บท บรรยายท่วงท่าต่างๆ ซึ่งแต่งขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง พระภิกษุ และสามัญชน นอกจากนี้ยังมีโคลงจำนวน 6 บทที่เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 3 อีกด้วย ดังปรากฏหลักฐานในบานแผนก ซึ่งกล่าวถึงการสร้างจารึก รวมถึงการวาดภาพและคัดลอกโคลงลงในสมุดไทย ซึ่งเสร็จสิ้นลงใน พ.ศ. 2381 ความว่า “จึ่งสมเด็จนฤบาล ธ ก็พรรหารเสาวพจน์ ให้ลิขิตบทโคลงทรง ลงจารึกเศลา ตราติดผนังกำกับ สำหรับรูปหล่อหลาย แล้วให้นายจิตกรรม์ สฤษฎิรังสรรค์เสาวเลข รจเรขชฏิล ดัดกายินถ้วนองค์ ลงในสมุดดุจหล่อ ส่อท่าตราแผนไว้ ธ ก็ให้เลขกามาตย์ จำลองศาสตรเส้นรง แสดงโคลงทรงสืบสร้าง เป็นตำหรับฉบับอ้าง คู่หล้าแหล่งเฉลิม” ปัจจุบัน จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตนซึ่งติดอยู่ที่ผนังศาลาราย ได้สูญหายไปเป็นจำนวนมาก รวมถึงประติมากรรมฤาษีดัดตน ก็ถูกเคลื่อนย้ายออกจากที่ตั้งซึ่งเดิมอยู่คู่กับจารึก และบางส่วนยังถูกโจรกรรมอีกด้วย

เนื้อหาโดยสังเขป

โคลงสี่สุภาพ ประพันธ์โดย กรมหมื่นไกรสรวิชิต บรรยายถึงท่วงท่าการดัดตนของฤาษี ท่าที่ 24 ซึ่งเรียกว่า “ดำรงกายอายุศม์ยืน” ซึ่งเป็นท่ายืน ถือไม้เท้าค้ำยันพื้น และงอเข่าเล็กน้อย

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)

การกำหนดอายุ

โคลงสี่สุภาพ ประพันธ์โดย กรมหมื่นไกรสรวิชิต บรรยายถึงท่วงท่าการดัดตนของฤาษี ท่าที่ 24 ซึ่งเรียกว่า “ดำรงกายอายุศม์ยืน” ซึ่งเป็นท่ายืน ถือไม้เท้าค้ำยันพื้น และงอเข่าเล็กน้อย

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) “โคลงภาพฤาษีดัดตน,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 721-801.
2) “จดหมายเหตุเรื่องการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส,” ใน ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 57-73.
3) จุลทรรศน์ พยาฆรานนท์, “ประติมากรรมรูปพระฤาษีดัดตนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม,” ศิลปกรรมปริทัศน์ 4, 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2532) : 28-44.