จารึกอักษรไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์, จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, จารึกภาษาไทย, จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, จารึกสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, จารึกบนหินอ่อน, จารึกบนหินอ่อนสีดำ, จารึกรูปห้าเหลี่ยม, จารึกในกรอบทรงซุ้ม, จารึกพบที่กรุงเทพมหานคร, จารึกวัดบวรนิเวศวิหาร, จารึกตำรายา, ยาสมุนไพร, พืชสมุนไพร, โรคและการรักษาด้วยสมุนไพร,
โพสต์เมื่อวันที่ 5 ม.ค. 2565 11:02:52 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 19:44:32 )
ชื่อจารึก |
จารึกตำรายาวัดบวรนิเวศวิหาร แผ่นที่ 2 (ว่าด้วยลักษณะไข้วิปริตปฐมเหตุ คำรบ 2 ไข้สังวาลย์พระอินทร์) |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 17 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อนสีเทา |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นหินทรงห้าเหลี่ยมผนึกไว้ในกรอบทรงซุ้ม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 44 ซม. สูง 38.5 ซม. |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ผนังในศาลาฤาษีด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ข้างศาลาการเปรียญ) วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ประวัติ |
วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ฝ่ายธรรมยุต ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศ และถนนพระสุเมรุ ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมชื่อว่า "วัดใหม่" อยู่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาสที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2366 ซึ่งต่อมาภายหลังพระบาทสมเด็จมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าร่วงโรยมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกับวัดบวรนิเวศวิหารเสีย เมื่อ พ.ศ. 2458 ในปัจจุบันยังคงเรียกส่วนที่เป็นวัดรังษีสุทธาวาสมาเดิมว่า "คณะรังษี" |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงลักษณะไข้วิปฤตปฐมเหตุอันบังเกิดในระหว่างอหิวาตกภัย คือไข้สังวาลย์พระอินทร์เป็นคำรบที่ 2 ระบุอาการของโรคที่เกิดในหญิงและชายที่มีความแตกต่างกัน ตัวยาที่ใช้ในการรักษา รายชื่อสมุนไพรที่ใช้ประกอบเครื่องยา วิธีปรุงยา และวิธีใช้ยา |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
การกำหนดอายุ |
กำหนดอายุโดยเทียบกับจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเนื่องจากสร้างในรัชสมัยเดียวกันคือรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 3) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล (2564), โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558 |