อายุ-จารึก พ.ศ. 2179, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 22, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดมหาพรหมโพธิราช, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การปักปันเขตแดน, เรื่อง-การกำหนดเขตปลอดอาญา, บุคคล-พระมหาพรหมโพธิสัตว์,
โพสต์เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2550 09:46:51 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 22:02:01 )
ชื่อจารึก |
จารึกพระมหาพรหมเทโวโพธิสัตว์ (จารึกวัดบ้านริมท่าวัด) |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
สน. 1 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมอีสาน |
ศักราช |
พุทธศักราช 2179 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 22 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 12 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 10 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 62.5 ซม. สูง 50 ซม. หนา 12.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สน. 1” |
ปีที่พบจารึก |
วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2524 |
สถานที่พบ |
วัดมหาพรหมโพธิราช บ้านริมท่าวัด ตำบลดงชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดมหาพรหมโพธิราช บ้านริมท่าวัด ตำบลดงชน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) อักษรธรรมอีสาน (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2525), 214-216. |
ประวัติ |
เดิมคงจะอยู่ที่วัดกลางเมืองเชียงใหม่หนองหาน ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกับวัดบ้านริมท่าวัด ภายหลังเป็นวัดร้าง (ยังมีซากโบราณสถานและเสมาหินร่วมสมัยทวารวดีอยู่จำนวนหนึ่ง) จึงนำมารักษาไว้ที่วัดบ้านริมท่าวัด |
เนื้อหาโดยสังเขป |
พระมหาพรหมเทโวโพธิสัตว์แห่งล้านช้างได้โปรดให้สร้างศิลาจารึกหลักนี้ ได้กำหนดเขตที่ให้อภัยชีวิตสรรพสัตว์ทั้งปวง และได้อ้างถึงพระเจ้าโพธิสาลราชว่าได้กำหนดเขตปลอดอาญาแผ่นดินไว้ก่อนแล้ว ที่น่าสนใจมากคือ เรียกเมืองสกลนครว่า “เมืองเชียงใหม่หนองหาน” และเนื้อหาที่ศิลาจารึกขาดหายไปน่าจะกล่าวถึง เขตปลอดอาญาแผ่นดิน เช่นเดียวกับจารึกวัดมุจลินทอาราม |
ผู้สร้าง |
จารึกพระมหาพรหมเทโวโพธิสัตว์ |
การกำหนดอายุ |
ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 998 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2179 อันเป็นสมัยที่พระหม่อมแก้วปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2170-2181) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-14, ไฟล์; Sn_0101_c) |