อายุ-จารึก พ.ศ. 1970, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, ยุคสมัย-จารึกสมัยสุโขทัย, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, ลักษณะ-จารึกบนรอยพระพุทธบาท, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พุทธศาสนา, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-รอยพระพุทธบาท, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงสุโขทัย-พระธรรมราชาที่ 2, บุคคล-พระธรรมราชาที่ 2, บุคคล-พระสิริสุเมธังกรสังฆนายก, บุคคล-พระสิริสุเมธังกรสังฆราช,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 17:24:11 )
ชื่อจารึก |
จารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
หลักที่ 12 ศิลาจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ, ศิลาจารึกรอยพระยุคลบาทวัดบวรฯ พุทธศตวรรษที่ 20, สท. 24 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศักราช 1970 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินชนวน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมสลักรอยพระยุคลบาท |
ขนาดวัตถุ |
ยาว 360 ซม. กว้าง 217 ซม. หนา 20 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 24” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
สันนิษฐานว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ 3 ทรงนำมาจากเมืองสุโขทัย |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 10 พฤษภาคม 2558) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 140-143. |
ประวัติ |
รอยพระพุทธยุคลบาท คือรอยพระพุทธบาททั้งเบื้องขวาเบื้องซ้ายนี้ สลักอยู่ตรงกลางแผ่นหินใหญ่ ยาว 360 ซม. กว้าง 217 ซม. ด้านข้าง 20 ซม. รอบๆ รอยพระพุทธบาทมีรอยสลักเป็นรูปพระมหาสาวก (อสีติมหาสาวก) และจารึกอักษรบอกพระนามพระมหาเถรกำกับไว้ด้วย จารึกอักษรดังกล่าวส่วนมากลบเลือน ที่ด้านข้างแผ่นหินข้างปลายรอยพระพุทธบาท มีคำจารึกภาษาบาลี อักษรขอมสุโขทัย 7 บรรทัด หนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ได้กล่าวถึงศิลาจารึกหลักนี้ไว้ดังนี้ “รอยพระพุทธยุคลบาทนี้ ไม่ปรากฏว่าได้มาจากไหน (จากเมืองพิษณุโลก) ก่อนตกมาอยู่ในวังหน้า มีแต่คำเล่ากันต่อๆ มาว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ได้ทรงนำมาจากสุโขทัยจึงได้ประดิษฐานอยู่ในวังหน้า จนได้ย้ายไปวัดบวรนิเวศ คำจารึกหลักนี้ได้เคยมีนักปราชญ์ฝรั่งเศส ชื่อ ม. บาร์ถ แปลและพิมพ์ในหนังสือสยามอองเซียง” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
“คำจารึกนั้นมีใจความว่า ครั้งแผ่นดินพระธรรมราชา (ที่ 2) (น่าจะเป็นพระมหาธรรมราชาที่ 3 ไสยลือไทย) พระวิทยาวงศ์มหาเถรได้นำแผ่นหินมายังเมืองสุโขทัย ครั้นมาในแผ่นดินพระธรรมราชาที่ 4 พระสิริสุเมธังกรสังฆนายก ผู้เป็นศิษย์ของพระสิริสุเมธังกรสังฆราช ได้สลักรอยพระพุทธบาททั้งคู่ลงบนแผ่นหินนั้น ตามแบบรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาสมันตกูฏ ในลังกาทวีป เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 4 ค่ำ พระพุทธศักราช 1970 ข้าพเจ้า (ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์) สงสัยว่า พระสิริสุเมธังกรสังฆนายก หรือพระสิริสุเมธังกรสังฆราชองค์ใดองค์หนึ่งจะเป็นองค์เดียวกันกับพระมหาเมธังกรเถร ซึ่งในหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวไว้ว่า พระมหาเมธังกรนั้นเป็นชาวเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1966 ได้ไปถึงลังกาทวีปพร้อมด้วยภิกษุ 32 องค์ และเวลากลับมาจากลังกาแล้ว ได้ตั้งคณะสิงหลภิกาขึ้นในเมืองไทยทั่วไป” |
ผู้สร้าง |
พระสิริสุเมธังกรสังฆนายก |
การกำหนดอายุ |
จารึกบรรทัดที่ 2 มีข้อความบอกศักราช คือ “ศุกลปักษ์ จตุตถดิถี” ซึ่งตรงกับ วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 1969 แบบปัจจุบัน แต่สมัยสุโขทัยนับปีย่าง จึงเรียก พ.ศ. 1970 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521) |