ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 3, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินอ่อน, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร, เรื่อง-วรรณกรรม, เรื่อง-วรรณกรรม-นิทานคติธรรม,
โพสต์เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2560 10:42:14 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 08:51:24 )
ชื่อจารึก |
จารึกฉันท์อัษฎาพานร แผ่นที่ 5 |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ |
ศักราช |
ไม่ปรากฏศักราช |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน จำนวน 22 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินอ่อน |
ลักษณะวัตถุ |
แผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, 2544), 630-631. |
ประวัติ |
“จารึกฉันท์อัษฎาพานร” ติดอยู่ที่ผนังด้านในศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังใต้ ใน “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” กล่าวถึงจารึกเรื่องนี้ในส่วนของการปฏิสังขรณ์พระมหาเจดีย์และบริเวณ ว่า “ปลายผนังด้านในทางลานพระมหาเจดีย์ เขียนกระบวนแห่กฐินพยุหยาตราทางสถลมารค ตอนกระบวนช้างและกระบวนม้าต่อกันทั้ง 2 หลัง ผนังตอนต่ำติดศิลาจารึกฉันท์กฤษณาสอนน้อง (อยู่หลังเหนือ) ปฤษนาพานรแปด (อยู่หลังใต้) กลอนพาลีสอนน้อง (อยู่หลังใต้) คำทายโพธิบาทว์ (อยู่หลังใต้) สุภาษิตพระร่วง (อยู่หลังเหนือ)” |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงพระราชาถูกขับจากเมืองเพราะความโง่เขลา แต่เมื่อได้รับฟังโอวาทของวานร 8 ตัว ซึ่งก็คือเทวดาแปลงตัวมา พระราชาก็กลับมีปัญญาฉลาดเฉลียวและได้กลับไปครองราชสมบัติดังเดิม |
ผู้สร้าง |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2556, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกได้รับความอนุเคราะห์จาก คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการอนุรักษ์และเผยแพร่จารึกวัดโพธิ์, 2552-2554 (ไฟล์; DSCF6236) |