จารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ

จารึก

จารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2566 19:07:30 )

ชื่อจารึก

จารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 52 จารึกบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด ด้านยาว 3 บรรทัด ด้านข้าง 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปรอยพระพุทธบาท (ชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 105.5 ซม. ยาว 154 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กพ. 10”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 52 จารึกบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 90-94.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 205-209.

ประวัติ

รอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ หล่อด้วยโลหะ ศิลปะแบบสุโขทัย บางส่วนชำรุดหายไป มีจารึกอักษรบนขอบ อักษรที่จารึกเป็นอักษรขอม ภาษาไทย จารึกเมื่อพุทธศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 1901-2000) รอยพระพุทธบาทดังกล่าวพบที่ วัดเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความที่จารึกด้านยาว บรรทัดที่ 1 ได้จารึกพระนามอดีตพระพุทธเจ้า 13 พระองค์ ด้านยาว บรรทัดที่ 2 ได้กล่าวถึงการจำหลักลายพระพุทธบาทลักษณ์ และจำนวนน้ำหนักของโลหะที่ใช้หล่อ ตลอดจนค่าบำเหน็จของช่าง ส่วนด้านยาว บรรทัดที่ 3 จารึกนามพระมหาสาวก 20 องค์ ด้านข้างจารึกนามพระมหาสาวกและนามเทวดา 2 องค์ คือ วิรุณหกราชและธัฏฐรัฏฐราช

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

หอสมุดแห่งชาติได้กำหนดไว้ว่าจารึกนี้อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ พุทธศตวรรษที่ 20,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 205-209.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 52 ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 90-94.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526)