จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ 2

จารึก

จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2566 10:10:32 )

ชื่อจารึก

จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 48 จารึกหินอ่อน, อย. 48, หลักที่ 186 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2421

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 22 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อนสีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ขนาดวัตถุ

กว้าง 131 ซม. สูง 72 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 48 จารึกหินอ่อน”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 186 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 110-114.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 ใน พ.ศ. 2517 โดยเรียกว่า “หลักที่ 186 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ” อนึ่ง จารึกหลักนี้มีเนื้อความต่อเนื่องมาจากจารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ 1 (อย. 047/หลักที่ 180)

เนื้อหาโดยสังเขป

(1) ระบุวันเวลาที่เริ่มสร้างวัดใน พ.ศ. 2419 และวันเวลาที่สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2421
(2) การหล่อพระพุทธนฤมลธรรโมภาสเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2420, การสร้างรูปพระมหาสาวก, การสร้างพระไตรปิฎกและการเชิญมาจากกรุงเทพ พร้อมกับพระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์ 8 รูปโดยเรือกลไฟ
(3) กล่าวถึงรายละเอียดในพิธีการผูกพัทธสีมาและการเฉลิมฉลอง
(4) ตอนท้าย รัชกาลที่ 5 ทรงกล่าวอุทิศพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระเจ้าแผ่นดินสยามทุกพระองค์ รวมถึงผู้ที่ได้อ่านจารึกนี้ ทั้งมนุษย์และเทวดา ขอให้ได้ถึงแก่นิพพาน สำหรับพระองค์เองทรงระบุว่า ไม่ทรงปรารถนาเฉพาะพุทธภูมิ แต่ขอให้ได้สรรพสมบัติความบริบูรณ์ด้วยคุณธรรม ที่จะช่วยให้พ้นจากสงสารทุกข์ทั้งปวง

ผู้สร้าง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี

การกำหนดอายุ

กำหนดจากศักราชล่าสุดที่ปรากฏจารึกว่า “พระพุทธศาสนกาล 2421” ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 5) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, บรรณาธิการ, อยุธยา (กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2546).
2) ธีระชัย ธนาเศรษฐ, กรุงศรีอยุธยา (กรุงเทพฯ : ธีรกิจ, 2537), 166-168.
3) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 186 จารึกที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 1 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2517), 110-114.
4) ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น, 2546).
5) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก, นำเที่ยววัดบวรนิเวศวิหาร (กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร, 2536).

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26-28 มิถุนายน 2550