จารึกหลังเทวรูปท้าวกุเวร

จารึก

จารึกหลังเทวรูปท้าวกุเวร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 23:12:00 )

ชื่อจารึก

จารึกหลังเทวรูปท้าวกุเวร

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

สำริด

ลักษณะวัตถุ

เทวรูปท้าวกุเวร

ขนาดวัตถุ

สูง 16 ซม.

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส (ภัทรศีลสังวร) ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (สำรวจเมื่อ 26 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

ประวัติวัดมัชฌิมาวาสและนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส (ภัทรศีลสังวร) (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525), 41-43.

ประวัติ

ท้าวกุเวรหรือท้าวชุมพล เทพแห่งความมั่งคั่ง พระองค์ประทับนั่งในท่าลลิตาสนะ บนบัลลังค์ที่มีหม้อสมบัติวางเรียงอยู่ 9 ใบ พระหัตถ์ขวาทรงถือมะนาว พระหัตถ์ซ้ายบีบคอพังพอนให้คายพวงมาลัยเพชรพลอย ด้านหลังบัลลังก์ที่ประทับเข้าใจว่ามีศิรัศจักรประดับอยู่รอบ แต่ชำรุดไป ด้านหลังของศิรัศจักรมีจารึกด้วยภาษาบาลี อักษรปัลลวะ จารึกทั้งหมดมี 5 บรรทัด นายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณฯ กองหอสมุดแห่งชาติ ได้อ่านเฉพาะบรรทัดที่ 3-5

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นคาถาว่าด้วยทางดับทุกข์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุตามรูปแบบของอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
ทัศนีย์ พิกุล, สุธน เจริญพงษ์ และณัฏฐภัทร จันทวิช, ประวัติวัดมัชฌิมาวาสและนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส (ภัทรศีลสังวร) (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525), 41-43.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : ประวัติวัดมัชฌิมาวาสและนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มัชฌิมาวาส (ภัทรศีลสังวร) (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2525)