ภาพถ่ายช่วงหลังปี พ.ศ. 2535

ขอบเขตและเนื้อหา :

ภาพถ่ายในช่วงเวลานี้ เกิดขึ้นหลังจากที่อาจารย์สุริยาปักหลักด้านการสอนในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมาเป็นสำคัญ  ภาพถ่ายต่างๆ เกิดขึ้นจากการวิจัยและการเก็บข้อมูลที่สะท้อนลักษณะที่เรียกว่า “การตอบโจทย์เฉพาะ” หรือ Issue oriented มากขึ้น โดยเฉพาะการลงลึกไปที่ตัววัตถุทางวัฒนธรรม การแสดงทางวัฒนธรรมหรือพิธีกรรมความเชื่อ  การศึกษามีลักษณะของการตีความมากขึ้น  น่าสนใจยิ่งว่าในช่วงเวลานี้ อาจารย์สุริยาได้ทำงานร่วมกับอดีตลูกศิษย์หลายท่านซึ่งได้รับอิทธิพลแนวความคิดทางด้านสังคมศาสตร์ใหม่ๆ จากต่างประเทศ  ประกอบกับโจทย์การวิจัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท  งานในยุคนี้ไม่เพียงแต่สนใจด้านการแสดงทางวัฒนธรรมและวัตถุทางวัฒนธรรมที่สื่อวิถีชีวิตของชุมชนอีสานเท่านั้น  งานวิจัยจำนวนมากยังเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนอีสานในยุคโลกาภิวัฒน์โดยเฉพาะกลุ่มแรงงาน

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 703 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย สุริยา สมุทคุปติ์ , พ.ศ. 2555

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกออกเป็น 9 file ตามพื้นที่ในการทำงานภาคสนาม

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล :

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

701. รหัส : SS-1-2-701

สุโขทัย

| รถเร่รับซื้อและขายมะพร้าว | สไลด์

702. รหัส : SS-1-2-702

สุโขทัย

| ที่ดินทำกินในสุโขทัยมีความแตกต่างจากอีสานอย่างชัดเจนโดยเฉพาะความสมบูรณ์ของดิน | สไลด์

703. รหัส : SS-1-2-703

สุโขทัย

| โอ่งใหญ่ของกองเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) สัญลักษณ์ของอำนาจรัฐในการเข้าถึงชนบทด้วยการพัฒนาและแจกโอ่ง ควบคู่กับป้ายนโยบายของรัฐสมัยนั้น โดยเฉพาะข้อความนิยมไทย | สไลด์