ภาพถ่ายช่วงหลังปี พ.ศ. 2535

ขอบเขตและเนื้อหา :

ภาพถ่ายในช่วงเวลานี้ เกิดขึ้นหลังจากที่อาจารย์สุริยาปักหลักด้านการสอนในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมาเป็นสำคัญ  ภาพถ่ายต่างๆ เกิดขึ้นจากการวิจัยและการเก็บข้อมูลที่สะท้อนลักษณะที่เรียกว่า “การตอบโจทย์เฉพาะ” หรือ Issue oriented มากขึ้น โดยเฉพาะการลงลึกไปที่ตัววัตถุทางวัฒนธรรม การแสดงทางวัฒนธรรมหรือพิธีกรรมความเชื่อ  การศึกษามีลักษณะของการตีความมากขึ้น  น่าสนใจยิ่งว่าในช่วงเวลานี้ อาจารย์สุริยาได้ทำงานร่วมกับอดีตลูกศิษย์หลายท่านซึ่งได้รับอิทธิพลแนวความคิดทางด้านสังคมศาสตร์ใหม่ๆ จากต่างประเทศ  ประกอบกับโจทย์การวิจัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบท  งานในยุคนี้ไม่เพียงแต่สนใจด้านการแสดงทางวัฒนธรรมและวัตถุทางวัฒนธรรมที่สื่อวิถีชีวิตของชุมชนอีสานเท่านั้น  งานวิจัยจำนวนมากยังเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนอีสานในยุคโลกาภิวัฒน์โดยเฉพาะกลุ่มแรงงาน

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 703 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย สุริยา สมุทคุปติ์ , พ.ศ. 2555

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกออกเป็น 9 file ตามพื้นที่ในการทำงานภาคสนาม

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล :

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

481. รหัส : SS-1-2-259

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | สภาพบ้านชาวนายากจน | สไลด์

482. รหัส : SS-1-2-260

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | สภาพบ้านชาวนายากจน | สไลด์

483. รหัส : SS-1-2-261

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | สภาพบ้านชาวนาพอมีฐานะ สังเกตข้างบ้านจะพบว่ามีเจดีย์เล็กๆ สำหรับใส่กระดูกญาติที่เสียชีวิต ตามค่านิยมของท้องถิ่นที่ต้องมีการเก็บกระดูกส่วนหนึ่งกลับมาบ้าน | สไลด์

484. รหัส : SS-1-2-262

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | เครื่องนวดข้าวสมัยใหม่ นวัตกรรมนี้ได้รับความนิยมมากจากชุมชน ด้านหนึ่งมีความรวดเร็วและประหยัดรายจ่ายส่วนอื่นๆ จากเดิมที่ต้องระดมญาติพี่น้องมาช่วยซึ่งเสียค่าใช้จ่ายเรื่องอาหาร สุรา และอื่นๆ มากมาย ทว่าอีกด้านหนึ่ง ก็เริ่มมีเสียงตอบรับมาว่า นวัตกรรมนี้มีผลส่วนหนึ่งที่ทำให้ความกระชับในมิตรและเครือญาติ | สไลด์

485. รหัส : SS-1-2-263

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | โอ่งเก็บน้ำเป็นโอ่งโรงงาน | สไลด์

486. รหัส : SS-1-2-264

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | บ้านชาวนาในดับพอมีฐานะ | สไลด์

487. รหัส : SS-1-2-265

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | โอ่งโรงงาน | สไลด์

488. รหัส : SS-1-2-266

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | สภาพบ้านเรือนแบบรวมๆ ในพื้นที่จะมีการแบ่งย่อยเป็นที่อยู่อาศัยและแปลงปลูกผักต่างๆ | สไลด์

489. รหัส : SS-1-2-267

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | บ้านพักชาวนายากจน | สไลด์

490. รหัส : SS-1-2-268

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2536 | เริ่มต้นพิธีเข้าทรง | สไลด์