ภาพถ่ายช่วงก่อนปี พ.ศ. 2535

ขอบเขตและเนื้อหา :

ภาพถ่ายในช่วงเวลานี้ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการทำงานและเก็บข้อมูลทางมานุษยวิทยาในลักษณะที่เรียกว่า “ชาติพันธุ์วรรณนาแบบองค์รวม” (ethnographic whole) ซึ่งเน้นการเก็บข้อมูลชุมชนแบบรอบด้านและหลายแง่มุม เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปตอบโจทย์ปัญหาหนึ่ง  การเก็บข้อมูลลักษณะนี้สะท้อนจุดยืนในการทำงานแบบปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งเชื่อมั่นในลักษณะจริงแท้ของข้อมูล  การทำงานในลักษณะนี้ของอาจารย์สุริยาสอดคล้องกับโจทย์ปัญหาที่เขาเข้าไปทำการศึกษา ซึ่งต้องการข้อมูลภาคสนามที่หนักแน่น  และเป็นที่น่าสังเกตว่า วัตถุเอกสารจากงานวิจัยจำนวนมากเกิดขึ้นมาจากโจทย์ของงานวิจัยที่มีลักษณะร่วมกันบางประการ นั่นคือ โจทย์ปัญหาว่าด้วยการพัฒนาในภาคอีสาน การมีส่วนร่วมและการศึกษาผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในภาคอีสาน

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 110 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย สุริยา สมุทคุปติ์ , พ.ศ. 2555

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกออกเป็น 5 file ตามพื้นที่ในการทำงานภาคสนาม

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

1. รหัส : SS-1-1-1

หนองคาย

| พ.ศ. 2533 | รูปปั้นในวัดแห่งหนึ่ง จ.หนองคาย ประทับใจกับการสื่อสารคติธรรมมาก | สไลด์

2. รหัส : SS-1-1-2

หนองคาย

| พ.ศ. 2533 | รูปหมู่กับคณะเดินทาง | สไลด์

3. รหัส : SS-1-1-3

หนองคาย

| พ.ศ. 2533 | รูปปั้นคติธรรม | สไลด์

4. รหัส : SS-1-1-4

หนองคาย

| พ.ศ. 2533 | ทุ่งนา ในจ.หนองคาย ถ่ายด้วยความสนใจในชีวิตชาวนา | สไลด์

5. รหัส : SS-1-1-5

หนองคาย

| พ.ศ. 2533 | ทุ่งนาในจ.หนองคาย | สไลด์

6. รหัส : SS-1-1-6

หนองคาย

| พ.ศ. 2533 | สภาพถนนลูกรัง | สไลด์

7. รหัส : SS-1-1-7

หนองคาย

| พ.ศ. 2533 | กองข้าวเปลือก ชาวนามักกองข้าวเปลือกตากแดดเพื่อไล่ความชื้นก่อนขาย | สไลด์

8. รหัส : SS-1-1-8

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2529 | ภาพพระนอนในถ้ำที่สร้างตามคติความเชื่อเดิมเกี่ยวกับศาสนาพุทธ | สไลด์

9. รหัส : SS-1-1-9

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2529 | ชุดชาติพันธุ์ไท-ลาวในงานพิธีกรรม | สไลด์

10. รหัส : SS-1-1-10

ขอนแก่น

| พ.ศ. 2529 | ไหปั้นมือ ชุมชนที่ไปมีทักษะสูงในการปั้นไห ไหสามารถนำไปใช้ได้หลายกรณี ทั้งใส่น้ำและปลาร้า | สไลด์