ลาว

ขอบเขตและเนื้อหา :

ภาพถ่าย จำนวน 215 ระเบียน จากการลงพื้นที่ทำการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของคนไทในประเทศลาว ในปี พ.ศ. 2541-2542 ภาพถ่ายทั้งหมดมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ได้แก่ หลวงน้ำทา หัวพัน เมืองสิง หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เชียงขวาง โพนสะหวัน ซำเหนือ สบฮาว เชียงค้อ สบแอด ภาพจากการทำงานภาคสนามครั้งนี้ปรากฎภาพกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทดำ ไทแดง ขมุ ลาวยวน และพวน ภาพถ่ายยังสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ผู้วิจัยพบระหว่างการเดินทางและการทำงานภาคสนาม อาทิเช่น การแต่งกาย การทำนา การเลี้ยงไหม การทอผ้า การหาอาหาร สภาพบ้านเรือน สภาพของเมือง ลักษณะภูมิประเทศ ยานพาหนะ การเดินทาง การเลี้ยงสัตว์ การค้าขาย การทำเหล้า เป็นต้น

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 215 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย สุมิตร ปิติพัฒน์ , ปี พ.ศ. 2553

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามพื้นที่ในการทำวิจัย

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

91. รหัส : SP-1-1-91

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| สองสามีภรรยาชาวพวนในชุดแต่งกายอย่างเป็นทางการของพวนในอดีต | ภาพถ่าย

92. รหัส : SP-1-1-92

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้อาวุโสชาวพวนในเครื่องแต่งกายอย่างเป็นทางการของพวนในอดีต นิยมใส่ผ้าโจงกระเบนและใช้ผ้าทอสลับสีและลวดลายตามแบบเฉพาะพาดบ่าเมื่อไปทำบุญหรือร่วมงานสำคัญ | ภาพถ่าย

93. รหัส : SP-1-1-93

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| เด็กหนุ่มชาวพวนนิยมใช้ย่ามสะพายบ่า ถ่ายหน้าธรรมาสเทศน์ตามแบบพวน | ภาพถ่าย

94. รหัส : SP-1-1-94

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| หนุ่มชาวพวนหน้าศาลาในวัดบ้านหมี่ ยังนิยมสะพานถุงย่าม | ภาพถ่าย

95. รหัส : SP-1-1-95

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ที่เก็บสิ่งของสำหรับใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในวัดบ้านหมี่ | ภาพถ่าย

96. รหัส : SP-1-1-96

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| บ้านเรือนตามแบบฉบับของพวน นิยมสร้างเรือนตามยาวซอยแบ่งเป็นห้องๆเป็นเลขคี่ เช่น 5,7,9 ตามขนาดของครอบครัว | ภาพถ่าย

97. รหัส : SP-1-1-97

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ยายกับหลานๆชาวพวน นิยมให้ลูกผู้หญิงอยู่กับครอบครัวหลังการแต่งงาน (ท่าทางนั่งแบบสำรวมของพวน ถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง) | ภาพถ่าย

98. รหัส : SP-1-1-98

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| พระประทานในโบสถ์ซึ่งกำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ พวกพวนที่บ้านหมี่(ลพบุรี) ซึ่งบรรพบุรษอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยเมื่อกว่า 200 ปีก่อน เคยไปทอดกฐินที่วัดบ้านหมี่ที่เซียงขวางเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์กับญาติพี่น้องเดิม (พวกที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในไทยยังเอาชื่อ “บ้านหมี่” มาตั้งชื่อชุมชนของตนในลพบุรี | ภาพถ่าย

99. รหัส : SP-1-1-99

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| เณรสองรูปที่ยังจำวัดที่บ้านหมี่ ถ่ายจากกุฏิที่มีกลองขนาดใหญ่แขวนอยู่ (ช่วงเวลาดังกล่าว พระจะสึกไปทำงาน จึงเหลือแต่เณรจำวัดอยู่) | ภาพถ่าย

100. รหัส : SP-1-1-100

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| สามเณรชาวพวน 2 รูป ที่วัดบ้านหมี่ | ภาพถ่าย