ลาว

ขอบเขตและเนื้อหา :

ภาพถ่าย จำนวน 215 ระเบียน จากการลงพื้นที่ทำการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของคนไทในประเทศลาว ในปี พ.ศ. 2541-2542 ภาพถ่ายทั้งหมดมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ได้แก่ หลวงน้ำทา หัวพัน เมืองสิง หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เชียงขวาง โพนสะหวัน ซำเหนือ สบฮาว เชียงค้อ สบแอด ภาพจากการทำงานภาคสนามครั้งนี้ปรากฎภาพกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทดำ ไทแดง ขมุ ลาวยวน และพวน ภาพถ่ายยังสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ผู้วิจัยพบระหว่างการเดินทางและการทำงานภาคสนาม อาทิเช่น การแต่งกาย การทำนา การเลี้ยงไหม การทอผ้า การหาอาหาร สภาพบ้านเรือน สภาพของเมือง ลักษณะภูมิประเทศ ยานพาหนะ การเดินทาง การเลี้ยงสัตว์ การค้าขาย การทำเหล้า เป็นต้น

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 215 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย สุมิตร ปิติพัฒน์ , ปี พ.ศ. 2553

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามพื้นที่ในการทำวิจัย

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

211. รหัส : SP-1-1-211

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| แม่บ้านไทดำต่างช่วยกันทำการสาวไหมและทำฝ้าย | ภาพถ่าย

212. รหัส : SP-1-1-212

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้หญิงไทดำช่วยกันสาวไหมและทำฝ้ายใต้ถุนบ้าน | ภาพถ่าย

213. รหัส : SP-1-1-213

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ท่าเรือริมฝั่งน้ำมาใช้เป็นระบบขนส่งคนและสินค้าต่อไปยังฝั่งเวียดนาม | ภาพถ่าย

214. รหัส : SP-1-1-214

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| การปั่นฝ้ายของไทดำ | ภาพถ่าย

215. รหัส : SP-1-1-215

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้หญิงนุ่งผ้าแบบไทแดงเตรียมฟืนไว้ใช้ | ภาพถ่าย