ลาว

ขอบเขตและเนื้อหา :

ภาพถ่าย จำนวน 215 ระเบียน จากการลงพื้นที่ทำการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของคนไทในประเทศลาว ในปี พ.ศ. 2541-2542 ภาพถ่ายทั้งหมดมาจากพื้นที่ที่แตกต่างกันไป ได้แก่ หลวงน้ำทา หัวพัน เมืองสิง หลวงพระบาง เวียงจันทน์ เชียงขวาง โพนสะหวัน ซำเหนือ สบฮาว เชียงค้อ สบแอด ภาพจากการทำงานภาคสนามครั้งนี้ปรากฎภาพกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ ไทดำ ไทแดง ขมุ ลาวยวน และพวน ภาพถ่ายยังสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ผู้วิจัยพบระหว่างการเดินทางและการทำงานภาคสนาม อาทิเช่น การแต่งกาย การทำนา การเลี้ยงไหม การทอผ้า การหาอาหาร สภาพบ้านเรือน สภาพของเมือง ลักษณะภูมิประเทศ ยานพาหนะ การเดินทาง การเลี้ยงสัตว์ การค้าขาย การทำเหล้า เป็นต้น

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 215 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย สุมิตร ปิติพัฒน์ , ปี พ.ศ. 2553

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามพื้นที่ในการทำวิจัย

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

161. รหัส : SP-1-1-161

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| บ้านเรือนหลังคาโค้งตามแบบเดิมของพวกไทดำ | ภาพถ่าย

162. รหัส : SP-1-1-162

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ลักษณะบ้านเรือนของไทดำที่สบแอด | ภาพถ่าย

163. รหัส : SP-1-1-163

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ชาวไทดำที่สบแอดแม้ว่าจะรักษาแบบบ้านดั้งเดิมไว้ แต่การแต่งกายก็เปลี่ยนไปนุ่งห่มคล้ายคนลาวมากขึ้น | ภาพถ่าย

164. รหัส : SP-1-1-164

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้หญิงสูงอายุชาวไทดำที่เมืองสบแอดในชุดแต่งกายแบบดั้งเดิมของไทดำ คล้ายในเวียดนาม (พวกไทดำกลุ่มนี้อพยพจากเมืองวาดในเวียดนามเข้ามาอาศัยอยู่ในแขวงหัวพันของลาว) | ภาพถ่าย

165. รหัส : SP-1-1-165

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้หญิงไทดำกำลังคลี่ผ้าเปียวก่อนโพกศีรษะเพื่อแสดงลักษณะการแต่งกายของไทดำ | ภาพถ่าย

166. รหัส : SP-1-1-166

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้หญิงไทดำในชุดแต่งกายอย่างเป็นทางกลางของกลุ่ม (ผ้านุ่งดำเหลือบแดง) | ภาพถ่าย

167. รหัส : SP-1-1-167

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้หญิงไทดำแต่งกายไว้ทุกข์โดยใช้ผ้าขาวโพกศีรษะแทนผ้าเปียวสีดำที่ปักลวดลายที่ใช้ในโอกาสปกติ(ผ้านุ่งลายแตงโมคล้ายพวกไทดำที่เพรชบุรี) | ภาพถ่าย

168. รหัส : SP-1-1-168

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผู้ชายไทดำรุ่นอาวุโสนิยมแต่งกายด้วยชุดดำตามประเพณี | ภาพถ่าย

169. รหัส : SP-1-1-169

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| บ้านเรือนตามแบบฉบับของไทดำ หลังคามีไม้ไขว้กันคล้ายเขาควาย แสดงสถานภาพว่าเป็นพวก “ผู้ใหญ่” หรือ “เจ้า” ชนชั้นสูงในชุมชน | ภาพถ่าย

170. รหัส : SP-1-1-170

งานวิจัยภาคสนาม ประเทศลาว

| ผ้าห่มและเครื่องนอนในบ้านของไทดำ | ภาพถ่าย