พ.ศ.2506-2508

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารประกอบด้วยภาพถ่าย 707 ระเบียน จากการทำงานวิจัยภาคสนามต่อเนื่อง ภาพถ่ายชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ในปี พ.ศ.2506-2508 ในจังหวัดตาก เชียงใหม่ และเชียงราย โดยมานดอร์ฟได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิเอเชียเพื่อให้คำแนะนำรัฐบาลไทยในการก่อตั้งสถาบันวิจัยชาวเขา ในช่วงท้ายของการทำงานภาคสนามในปี พ.ศ.2507-2508 มานน์ดอร์ฟได้วางแผนที่จะบันทึกกิจกรรม และวัสดุทางวัฒนธรรมต่างๆ ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือก ในรูปแบบของฟิล์มภาพยนตร์ 16 มม. เขาจึงเดินทางกลับเข้าไปยังพื้นที่จังหวัดตากและเชียงรายอีกครั้ง พร้อมด้วยคณะทำงานจากสถาบันการผลิตภาพยนตร์ทางวิชาการ อันประกอบไปด้วยนักวิจัย 2 คน คือ ดร.ฟริดเฮล์ม ชอลซ์ (Friedhelm Scholz) และ ดร.เคลาส์ วอลเพรชท์ (Klaus Volprecht) นักวิจัย พร้อมกับช่างภาพ คือ เฮอร์มัน ชเลงเคอร์ รวมถึงเจ้าหน้าที่จากกรมประชาสงเคราะห์ เพื่อบันทึกภาพยนตร์เกี่ยวกับกิจกรรมอันหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 6 กลุ่ม คือ ลีซอ ละหู่ อาข่า ม้ง กะเหรี่ยง และเย้า

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 707 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ฮันส์ มานดอร์ฟ, พ.ศ. 2552

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามปีที่ศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

181. รหัส : HM-1-9-16

ชาวเขาในภาคเหนือ

| บ้านแม้วใหม่ ดอยมูเซอ จ.ตาก ปี 1965 แม่และบรรดาผู้ที่มาร่วมงาน | สไลด์

182. รหัส : HM-1-9-17

ชาวเขาในภาคเหนือ

| จ.เชียงใหม่ ตะแหลวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ถูกนำมาปักไว้ในทุ่งนา | สไลด์

183. รหัส : HM-1-9-18

ชาวเขาในภาคเหนือ

| บ้านแม้วใหม่ ดอยมูเซอ จ.ตาก ปี 1965 ศีรษะของศพถูกคลุมด้วยผ้าแดง ด้านบนของศีรษะมีไก่วางเป็นเครื่องเซ่นอยู่ | สไลด์

184. รหัส : HM-1-9-19

ชาวเขาในภาคเหนือ

| จ.เชียงใหม่ ตะแหลวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ถูกนำมาปักไว้ในทุ่งนา | สไลด์

185. รหัส : HM-1-9-20

ชาวเขาในภาคเหนือ

| บ้านแม้วใหม่ ดอยมูเซอ จ.ตาก ปี 1965 ชาวม้งกำลังช่วยกันขุดหลุมเพื่อฝังศพ | สไลด์

186. รหัส : HM-1-9-21

ชาวเขาในภาคเหนือ

| บ้านแม้วใหม่ ดอยมูเซอ จ.ตาก ปี 1965 ศพถูกนำไปใส่ในโลงและนำลงไปฝังในหลุมที่ขุดเตรียมเอาไว้ บริเวณหัวโลงมีเครื่องเซ่นวางอยู่ | สไลด์

187. รหัส : HM-1-9-22

ชาวเขาในภาคเหนือ

| จ.เชียงใหม่ ตะแหลวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ถูกนำมาปักไว้ในทุ่งนา | สไลด์

188. รหัส : HM-1-9-23

ชาวเขาในภาคเหนือ

| จ.เชียงใหม่ ตะแหลวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ถูกนำมาปักไว้ในทุ่งนา | สไลด์

189. รหัส : HM-1-9-24

ชาวเขาในภาคเหนือ

| บ้านแม้วใหม่ ดอยมูเซอ จ.ตาก ปี 1965 โลงศพกำลังถูกนำลงหลุม | สไลด์

190. รหัส : HM-1-9-25

ชาวเขาในภาคเหนือ

| บ้านแม้วใหม่ ดอยมูเซอ จ.ตาก ปี 1965 โลงศพกำลังถูกนำลงหลุม | สไลด์