ชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 35 ระเบียน ชุดนี้ เป็นเอกสาร รายงาน บทความ และหนังสือ ซึ่งบันทึกในระหว่างการทำงานวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ปี พ.ศ.2506 ประกอบด้วยรายงานต่อวิทยาลัยเบนนิงตันและมหาวิทยาลัยคอแนลเกี่ยวกับผลการสำรวจพื้นที่บนเขาของประเทศไทย รายงานการสำรวจชนบนพื้นที่สูงบริเวณหุบเขาแม่กก จ.เชียงราย รายงานการสำรวจภาคสนามในภาคเหนือของประเทศไทย ความสัมพันธ์ของชนบนพื้นที่สูงและพื้นที่ราบในภาคเหนือของประเทศไทย และปัญหาเรื่องชาติพันธุ์ในอำเภอทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหนังสือ บทความ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มชนบนพื้นที่สูงเผ่าต่างๆ ในประเทศไทย

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 35 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสาร รายงาน บทความ และหนังสือ

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

31. รหัส : H-1-4-41

การแต่งงานของชาวอาข่า

| ปี 1969 – ขั้นตอนการแต่งงานของชาวอาข่า พิธีกรรมและผู้ประกอบพิธีกรรม การแต่งกายของเจ้าสาว งานเลี้ยง และอาหาร | เอกสาร บทความ

32. รหัส : H-1-4-42

ชาวเขาในจังหวัดเชียงราย : ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลง

| ปี 1981 – ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยพื้นราบกับชาวเขาเปลี่ยนจากความพันธ์แบบคู่ขนานไปสู่การผสมผสานกันมากขึ้น เจน แฮงส์ ได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีทางของการเปลี่ยนแปลงนี้ | เอกสาร บทความ

33. รหัส : H-1-4-47

มรดกของลัทธิขงจื้อในกลุ่มชาวเขา

| การศึกษากลุ่มชาวเขาแถบพื้นที่จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ปี 1963-1979 กลุ่มชาวเขาได้แก่ ลาหู่ อาข่า ลีซู เย้า กะเหรี่ยงและแม้ว คนกลุ่มนี้อพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีน ในจิตใจของคนกลุ่มนี้ยังรู้สึกถึงความเป็นจีน ลัทธิขงจื้อเข้ามามีบทบาทต่อกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านี้อย่างเข้มงวด โดยมีความเชื่อว่าคุณสมบัติ 3 ประการที่เปลี่ยนคนไปสู่ผู้ที่มีอารยธรรม ได้แก่ เคารพผู้อาวุโสหรือผู้ที่สูงกว่า การแต่งกายที่เหมาะสม และมารยาทที่เหมาะสม | เอกสาร บทความ

34. รหัส : H-1-4-49

ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลทางเหนือของประเทศไทย

| ปี 1972 – สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการให้ค่าของคนและที่ดิน และเนื่องมาจากความรู้สึกชาตินิยมที่รุนแรง ชาวเขาจากหลายๆพื้นที่กลายเป็นคนชายขอบที่ไม่เป็นที่ต้องการและอยู่ชั้นล่างสุดในระดับชั้นของสังคม | เอกสาร บทความ

35. รหัส : H-1-4-48

การกล่าวถึงเชื้อสายทางพ่อของชาวอาข่า

| ปี 1974 - ในงานศพของชาวอาข่า ผู้ประกอบพิธีจะอ่านรายชื่อบรรพบุรุษและญาติทางฝ่ายพ่อที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยเชื่อว่าบรรพบุรษจะมารับดวงวิญญาณของผู้ตายไปด้วย | เอกสาร บทความ