ชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 35 ระเบียน ชุดนี้ เป็นเอกสาร รายงาน บทความ และหนังสือ ซึ่งบันทึกในระหว่างการทำงานวิจัยภาคสนามเกี่ยวกับชนบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย ปี พ.ศ.2506 ประกอบด้วยรายงานต่อวิทยาลัยเบนนิงตันและมหาวิทยาลัยคอแนลเกี่ยวกับผลการสำรวจพื้นที่บนเขาของประเทศไทย รายงานการสำรวจชนบนพื้นที่สูงบริเวณหุบเขาแม่กก จ.เชียงราย รายงานการสำรวจภาคสนามในภาคเหนือของประเทศไทย ความสัมพันธ์ของชนบนพื้นที่สูงและพื้นที่ราบในภาคเหนือของประเทศไทย และปัญหาเรื่องชาติพันธุ์ในอำเภอทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหนังสือ บทความ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับกลุ่มชนบนพื้นที่สูงเผ่าต่างๆ ในประเทศไทย

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 35 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสาร รายงาน บทความ และหนังสือ

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

11. รหัส : H-1-1-8

การเปลี่ยนแปลงการรักษาความปลอดภัย (เยี่ยมนายพลต้วน ซี เหวิน)

| Hanks เดินทางไปพบนายพลต้วน ซี เหวิน ที่หมู่บ้านสันติศิริ ดอยแม่สะลองในช่วงปีใหม่ ปี 1979 แต่เดิมที่นี่คือค่ายทหาร ที่มีการต่อสู้กันในปี 1964 ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านของคนจีน ชาวบ้านที่นั่นปลูกชาเป็นอาชีพแทนการปลูกฝิ่นแบบเมื่อก่อน นอกจากนี้ Hanks ได้สอบถามถึงประวัติความเป็นมาของนายพลต้วน ซี เหวิน | เอกสาร บทความ

12. รหัส : H-1-1-9

รายงานการสำรวจพื้นที่สูงของประเทศไทยเดือนแรกของเบนนิงตัน-คอแนล

| วันที่ 6 ธันวาคม 1963 – รายงานจาก Lucien Hanks ถึงกรมสวัสดิการสังคม ตำรวจชายแดน สภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อรายงานการสำรวจเดือนแรกในพื้นที่นิคมเชียงดาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ของคณะสำรวจทางมานุษยวิทยาเบนนิงตัน-คอแนล ในพื้นที่สูงของประเทศไทย รายงานถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของทีมนักวิจัยทำงานในพื้นที่ รายชื่อนักวิจัยของทีมสำรวจ กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในนิคม ได้แก่ ลาหู่และแม้ว การทำมาหากิน ความสัมพันธ์กับคนไทย ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชาติ และการศึกษาของเด็ก | เอกสาร บทความ

13. รหัส : H-1-1-4

เปอร์เซียและจีน: การตอบโต้ต่อการบุกรุกเข้ามาของชาวมองโกล

| บทความเรื่อง “เปอร์เซียและจีน: การตอบโต้ต่อการบุกรุกเข้ามาของชาวมองโกล” โดย Lucien M. Hanks | เอกสาร บทความ

14. รหัส : H-1-1-5

ลาหู่

| ชาวลาหู่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศจีนและจำนวนหนึ่งอยู่ในประเทศไทยและแถบพม่า ชาวลาหู่จำนวนมากยังขาดการศึกษา ปัจจัยที่ลบล้างความเป็นลาหู่ดั้งเดิมคือการศึกษาการถูกเกณฑ์ทหาร แต่ในทางกลับกับการศึกษาก็มีประโยชน์ต่อชาวลาหู่เช่นกัน ทำให้มีความรู้มากขึ้น มีสุขอนามัยที่ดีและมีความภาคภูมิใจในความเป็นตัวเอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นคือรูปลักษณ์ภายนอกและภาษา ด้านศาสนาในกลุ่มลาหู่ยังคงเข้มแข็งอีก ชาวลาหู่เชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ สำหรับในประเทศไทยลาหู่เป็นที่รู้จักเฉพาะกลุ่มคนระดับเจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่ค่อยมีการติดต่อกับคนในพื้นที่ราบ จึงทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน ซึ่งทำให้คนพื้นที่ราบประเมินลาหู่ต่ำไป ชาวลาหู่จึงอาศัยอยู่ในเฉพาะพื้นที่ของตนเพียงลำพัง ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้ยาก | เอกสาร บทความ

15. รหัส : H-1-1-2

อาข่า

| มาจากจีน อาศัยอยู่ที่รัฐฉานของพม่าก่อนที่จะเข้ามาอยู่แถบเทือกเขาของเชียงราย (คนกลุ่มนี้เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่ Hanks) เป็นกลุ่มที่แผ่ขยายมาจากตอนใต้สุดของกลุ่มคนที่พูดภาษาทิเบต-พม่า ซึ่งรวม woni และ hani ในจีนด้วย เช่นเดียวกับกลุ่มที่พูดภาษาทิเบต-พม่า กลุ่มอื่นๆ พวกเขาคงความเป็นชาวเขาและประวัติศาตร์ของตนเองผ่านบทเรียนท่องจำชื่อคนและสถานที่ | เอกสาร บทความ

16. รหัส : H-1-1-3

อำนาจของผู้หญิงอาข่า

| การศึกษา โดย Jane R. Hanks ศึกษาวิถีชีวิตของชาวอาข่าที่สะท้อนให้เห็นได้จากบทบาทของแต่ละเพศ ในชุมชนและครัวเรือน มีการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ชายและผู้หญิง รวมถึงกิจวัตรและพิธีกรรม ภาพชีวิตของผู้หญิงอาข่าเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งหมายถึงการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายและหญิง การให้กำเนิด โดยเฉพาะการตั้งครรภ์เป็นอำนาจอย่างหนึ่งของผู้หญิงอาข่า | เอกสาร บทความ

17. รหัส : H-1-4-5

รายงานเรื่องชาวเขาในจังหวัดเชียงราย ทางเหนือของแม่น้ำกก

| ปี 1964 – รายงานโดยลูเชียน แฮงส์, เจน แฮงส์, ลอริสตัน ชาร์ป และ รูธ บี ชาร์ป มหาวิทยาลัยคอแนล ที่ลงไปศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาวเขากับคนพื้นราบ รายงานฉบับนี้ประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของพื้นที่แม่กก; สภาพทางภูมิศาสตร์ ประชากร การอพยพเข้ามา การขนส่ง บริการจากรัฐ ความปลอดภัย การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ระบบเศรษฐกิจพื้นฐาน การกระจายทรัพย์สิน เศรษฐกิจการเงิน การค้า ความเป็นผู้นำ สุขภาพ การศึกษา ความสัมพันธ์พิเศษของหมู่บ้าน พื้นที่สูงและพื้นที่ราบ คำแนะนำเรื่องปัญหาของประชากร การดำรงชีพ การเงิน บริการจากรัฐ สุขภาพ การศึกษา การสื่อสาร ความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างคนไทยและชาวเขา และโครงการเกี่ยวกับชีวิตที่ยั่งยืน | เอกสาร บทความ

18. รหัส : H-1-4-7

ความสัมพันธ์ของหมู่บ้านพื้นที่สูง-ที่ราบในภาคเหนือของประเทศไทย

| ปี 1972 - มีความสัมพันธ์ทั้งในเชิงที่เป็นมิตรและเป็นปฎิปักษ์ เนื่องจากความแตกต่างในเรื่องระบบนิเวศน์ ภาษาและวัฒนธรรมของคน ชาวเขาจะเป็นลูกจ้างของคนที่ราบในการทำงานในไร่ ความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะของการจ้างงาน การติดต่อลักษณะอื่นคือ การค้าขาย ความเป็นพันธมิตรขึ้นอยู่กับการช่วยเหลือกันมากกว่าการค้าขาย ซึ่งบางครั้งเกิดความอึดอัดใจบ้าง ชาวเขาบางคนย้ายลงมาอยู่มี่ราบ และคนจากที่ราบที่นับถือศาสนาคริตส์จำนวนหนึ่งก็ย้ายไปอยู่ที่สูงเช่นกัน | เอกสาร บทความ

19. รหัส : H-1-4-13

อารยธรรมของความพ่ายแพ้ – ชาวเขาที่อยู่นอกประเทศจีน

| ปี 1984 – แฮงส์ศึกษากลุ่มชาวเขา 4 เผ่า ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ ลีซู ลาหู่ อาข่า และเย้า ที่อพยพมาจากจีนอันเนื่องมาจากการต่อสู้ แฮงส์อธิบายถึงสิ่งที่เรียกว่าความผิดปกติทางชาติพันธุ์ การส่งผ่านเรื่องเล่าเกี่ยวกับความพ่ายแพ้ล้มเหลวของตนไปสู่คนรุ่นหลัง ลักษณะเฉพาะของชาวเขาทั้งสี่เผ่า ประวัติศาสตร์และการพ่ายแพ้ในการต่อสู้ และสุดท้ายพูดถึงความสำคัญของวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มนี้ที่มีต่อเหตุการณ์ด้านสังคมตามชายแดนทางใต้ของจีน | เอกสาร บทความ

20. รหัส : H-1-4-14

ภาพสะท้อนของบ้านอาข่า แม่สะลอง

| ปี 1975 – บทความ “ Reflections on Ban Akha Mae Salong” ตีพิมพ์ลงในวารสารของสยามสมาคม มกราคม 1975 ปีที่ 63 กล่าวถึงหมู่บ้านชาวอาข่าที่ดอยแม่สะลอง จากการเป็นผู้อพยพลี้ภัยจะมีวิธีการดำเนินขนบประเพณีในชีวิตของตนต่อไปอย่างไร หมู่บ้านนี้แสดงให้เห็นลักษณะการปฏิรูปอย่างลึกซึ้งและย้อนกลับไปไมได้ของชาวเขาที่เหลืออยู่ในแถบนี้ นอกจากนี้พูดถึงการช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรม | เอกสาร บทความ