ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

82. รหัส : H-1-6-4

ข้าวกับมนุษย์ : นิเวศวิทยาทางการเกษตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ปี 1972 – Lucien Hanks ได้แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และธรรมชาติของการทำเกษตรกรรม ความสามารถในการปรับตัว และความต้องการทางด้านสังคมและพลังงานที่มีความจำเป็นต่อการผลิต นอกจากนี้แฮงส์ยังได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงการผลิตข้าวและผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ตลอด 120 ปี ของชาวบางชัน ชุมชนที่มีประชากรประมาณ 1700 คน อยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 22 ไมล์ | หนังสือ

83. รหัส : H-1-6-5

Crossroads : วารสารสหวิทยาการเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

| ปี 1992 – ปีที่ 7 เล่มที่ 1 เพื่อระลึกถึงการทำงานของลูเชียนและเจน แฮงส์ | หนังสือ