ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

71. รหัส : H-1-4-39

ผู้หญิงและความอุดมสมบูรณ์

| คนไทยเชื่อว่าในแม่น้ำ ดิน หรือนาข้าวมีเทพีเป็นผู้ปกปักษ์รักษา เนื่องจากเพศแม่เป็นผู้ให้ชีวิตและเลี้ยงดูให้ทุกชีวิตมีความอุดมสมบูรณ์ และความอุดมสมบูรณ์จะนำมาซึ่งพลัง ผู้ชายจะทำงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว แต่ผู้หญิจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน ในยุคหินไทยมีความโน้มเอียงไปทางสายของแม่มากกว่า แต่ต่อมาได้รับอิทธิพลจากอินเดียและจีนที่โน้มเอียงไปทางสายบิดา พุทธศาสนาและพราหมณ์ก็มีความโน้มเอียงไปทางฝ่ายผู้ชาย ในแวดวงการเมืองก็สะท้อนให้เห็นถึงความโน้มเอียงไปทางผู้ชาย | เอกสาร บทความ

72. รหัส : H-1-4-43

คุณลักษณะของชาวบ้านในชนบทไทย

| ปี 1965 –ชาวบ้านบางชันเชื่อว่าคนเรามีขวัญและวิญญาณ ขวัญเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด ส่วนวิญญาณไม่ได้มาจากใครหรือจากที่ไหนแต่เป็นสิ่งที่เกิดจากภายใน แต่ทั้งขวัญและวิญญาณไม่เกี่ยวกับคุณความดี ความดีเกิดขึ้นในจิตใจ ธรรมชาติของใจและจิตใจเป็นตัวบ่งชี้สิ่งที่เรียกว่ากรรม คนที่ความดีมากจะมีชีวิตที่ดี สำหรับคนบางชันเชื่อว่าใจขึ้นอยู่กับการทำความดี ส่วนวิญญาณเกี่ยวกับความตาย เป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว องค์ประกอบของคุณลักษณะ ได้แก่คุณความดี ใจ นิสัย และวิญญาณ การมีคุณลักษณะที่ดีจะนำไปสู่นิพพาน สิ่งชี้นำไปสู่นิพพานคือการให้ความเคารพผู้สูงอายุ การเชื่อในคำสอนของพระพุทธเจ้า | เอกสาร บทความ

73. รหัส : H-1-4-44

การติดต่อกันระหว่างผู้หญิงชนบทและในเมืองของกรุงเทพฯ

| ปี 1983 –ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 กลุ่มหญิงชนชั้นนำในเมืองไม่ค่อยมีโอกาสได้ไปเที่ยวตามต่างจังหวัดมากนัก ผู้หญิงในวังยิ่งมีโอกาสน้อยมาก การติดต่อสื่อสารกับผู้หญิงตามชนบทจึงมีน้อย ส่วนผู้หญิงชนบทมองว่าในเมืองเป็นอีกโลกที่แปลก น่ากลัว วุ่นวาย ไม่รู้จักและเดินทางไปลำบาก แต่ด้วยวิธีการสื่อสารสมัยใหม่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ทั้งการขนส่ง การสื่อสาร ระบบการศึกษากระจายไปสู่ชนบท ทำให้คนชนบทมีทางเลือกในอาชีพมากขึ้น อีกทั้งการต้องการแรงงานมาทำงานในอุตสาหกรรม ทำให้ผู้หญิงหลั่งไหลเข้ามาทำงานในเมือง การติดต่อสื่อสารของผู้หญิงในเมืองและชนบทจึงเกิดขึ้น | เอกสาร บทความ

74. รหัส : H-1-4-45

ทรัพย์สินของคนท้องถิ่นที่ใช้สำหรับการพัฒนาประเทศไทย

| ปี 1968 – ในประเทศที่ปกป้องด้วยระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน แต่ดูเหมือนกับว่าสำหรับประเทศไทย รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจเด็ดขาดเกี่ยวกับโครงการของรัฐ การผลักดันให้เกษตรกรทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ แม้จำสะดวกรวดเร็วกว่าแต่เป็นการเพิ่มภาระหนี้สินให้ชาวบ้าน | เอกสาร บทความ

75. รหัส : H-1-4-46

ลักษณะของประเทศไทย

| ปี 1959 – คำอธิบายเรื่องวิญญาณและขวัญของชาวบางชัน องค์ประกอบอีกอย่างของมนุษย์คือกรรม คนที่ความดีมากจะมีชีวิตที่ดี องค์ประกอบของคุณลักษณะ ได้แก่คุณความดี ใจ นิสัย และวิญญาณ การมีคุณลักษณะที่ดีนั้นเกิดจากการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน | เอกสาร บทความ

76. รหัส : H-1-4-51

บทวิจารณ์ : ราชอาณาจักรสยาม โดย ไซมอน เดอ ลาลู แบร์

| ปี 1971 – ไซมอน เดอ ลาลู แบร์ เป็นทูตจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส เข้ามาในสมัยกรุงศรีอยุธยา ปี 1678 ทำให้อยุธยาได้รับอิทธิพลจากทางยุโรปมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านหารค้าหรือทางการทหารในแถบอินดีส ไซมอน เดอ ลาลู แบร์ ได้เขียนบรรยายถึงราชอาณาจักรสยามในเรื่อง “ความเกี่ยวพันทางประวัติศาสตร์” โดยกล่าวถึงราชอาณาจักรสยามในศตวรรษที่ 17 ทั้งเรื่องศิลปะ โครงสร้างทางสังคม การปกครองทางการเมือง ศาสนา ลักษณะของคนและการประพฤติปฏิบัติ ตลอดจนเรื่องของดาราศาสตร์และเวทมนต์ | เอกสาร บทความ

77. รหัส : H-1-4-52

Staatsfeuer und Vestalinnen

| ปี 1962 - บทความภาษาเยอรมัน โดย Edwin M.Loeb. พิมพ์ที่ Paideuma, Bend VIII, กรกฎาคม ปี 1962 เล่มที่ 1 | เอกสาร บทความ

78. รหัส : H-1-4-53

Lettre aux amis du Vietnam

| ปี 1957 – บทความภาษาฝรั่งเศส โดย Pierre Grison จากหนังสือ France-Asia ฉบับที่ 134 กรกฎาคม 1957 | เอกสาร บทความ

79. รหัส : H-1-6-1

หมู่บ้านปลูกข้าวในสยาม

| รายงานเบื้องต้นการวิจัยที่บางชัน ปี 1948-1949 โดย Lauriston Sharp, Hazel M. Hauck, Kamol Janlekha และ Robert B. Textor มหาวิทยาลัยคอแนล หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการวางแผนเข้าไปทำวิจัยที่บางชัน การใช้อักขระและออกเสียงในรายงาน คำศัพท์ที่ใช้ ระบบเงินตรา เรื่องที่รายงานเบื้องต้นมี 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ ชุมชนบางชัน; สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประชากร การจัดการทางสังคม รัฐบาลท้องถิ่น วัด โรงเรียน ส่วนที่สองคือเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของหมู่บ้าน; โครงสร้างของการประกอบอาชีพ การทำนา การดูแลควาย กระบวนการผลิต ที่ดิน การค้าข้าว การทำเกษตรกรรมอื่นๆ การเลี้ยงสัตว์ รายได้ งานศิลปะหัตถกรรม รูปแบบการบริโภค การทำบุญและให้ของขวัญ การให้สินเชื่อ การสะสมทุนของท้องถิ่น และส่วนที่สามคือสุขภาพและการควบคุมอาหาร; ศาสนาและสุขภาพ แพทย์และการใช้ยาพื้นบ้าน วิธีการรักษาแบบพื้นบ้าน ยาสมัยใหม่ สุขอนามัย ยา เครื่องดื่ม และสิ่งกระตุ้น อาหารและทัศนคติต่อาหาร ปัญหาจากการแก้ไขภาวะควบคุมอาหาร | หนังสือ

80. รหัส : H-1-6-2

บางชัน : ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนชนบทในประเทศไทย

| ปี 1978 – Lauriston Sharp และ Lucien M Hanks ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชนชานเมืองกรุงเทพฯ คือบางชัน โดยศึกษาความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นในเรื่ององค์กรทางสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ศาสนา เป็นต้น ที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทของการพัฒนาท้องถิ่นและรัฐชาติ ในหนังสือได้บรรยายให้เห็นภาพประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านในหลายๆช่วงเวลา อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารประเทศจากส่วนกลางในปี 1890 และภาวะขาดแคลนข้าวหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเปลี่ยนการทำอาชีพของคนในหมู่บ้านจากหาปลาไปสู่การปลูกข้าว | หนังสือ