ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

51. รหัส : H-1-4-4

มุมมองเกี่ยวกับจักรวาลของชาวบ้านบางชัน

| ปี 1957 – ชาวนาบางชันรับรู้การแบ่งส่วนของจักรวาลนี้ เช่น การแบ่งนรก-สวรรค์ ทะเล-ภูเขา สิ่งเหล่านี้ปรากฎในคำเทศนาของพระ หรือจากเรื่องเล่าต่างๆ ดังนั้นคนที่เคยบวชเรียนจะรับรู้เรื่องเกี่ยวกับจักรวาลได้มากกว่าชาวนาทั่วไป พิธีกรรม การบูชา หรือแม้แต่การทำนาก็จะอ้างอิงกับระบบจักรวาล พระจันทร์ พระอาทิตย์ ดวงดาว และเกี่ยวพันกับวันทั้ง 7 วัน มุมมองเกี่ยวกับจักรวาลยังมีความสัมพันธ์กับระดับชั้นทางสังคมและการปกป้องคุ้มครอง | เอกสาร บทความ

52. รหัส : H-1-4-6

มุมมองของไทยและอเมริกันเรื่องเสรีภาพ

| ปี 1965 – คนอเมริกันตระหนักว่าตนเองผูกติดอยู่กับสังคมเพื่อรับผลประโยชน์ จึงพยายามปกป้องตัวเองจากการถูกบังคับ และเสาะหาเสรีภาพในการมีชีวิตอยู่ สำหรับคนไทยไม่เคยตระหนักว่าพวกเขามีเสรีภาพนั้น สังคมไทยกษัตริย์เป็นศูนย์กลาง การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมถือเป็นอภิสิทธิ์ที่อาจจะปฏิเสธหรือเพิกถอนเมื่อไหร่ก็ได้ คนที่อยู่นอกสังคมนี้จะได้อภิสิทธิ์น้อย เมื่อใครก็ตามได้เป็นสมาชิกของสังคมและได้อภิสิทธิ์ เสรีภาพก็ไม่มีความสำคัญ คนไทยยอมรับคนต่างชาติได้มากกว่าคนอเมริกัน ชาติที่ประกอบไปด้วยคนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ไม่สามารถเพิกเฉยกับประชากรของตนได้ ต้องพยายามที่จะปฏิรูปคนที่สร้างปัญหา | เอกสาร บทความ

53. รหัส : H-1-4-8

กษัตริย์ผู้กำจัดภัยพิบัติ

| ปี 1974 – บทความเกี่ยวกับบันทึกจดหมายเหตุรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งที่บ้านเมืองประสบภัยพิบัติจากธรรมชาติและโรคภัย เชื่อว่าเป็นผลมาจากพระพุทธรูป คือพระเสริม พระสุก และพระใสที่เพิ่งอัญเชิญจากเวียงจันทร์เข้ามาที่กรุงเทพฯ ถูกปิศาจเข้าครอบงำ จึงอัญเชิญพระทั้ง 3 องค์ไปไว้ที่วัดปทุมวนาราม หลังจากนั้นภัยพิบัติต่างๆก็หายไป | เอกสาร บทความ

54. รหัส : H-1-4-9

คนและอัตราส่วนที่ดิน

| ปี 1976 – บทความโดย ลูเชียน แฮงส์ ตีพิมพ์ใน Contributions to Asian Studies ปีที่ 9 เรื่อง “ An Introduction to Land, Population and Structure : Three Guises of the Man-Land Ratio” | เอกสาร บทความ

55. รหัส : H-1-4-10

ลูกน้อง : หลักการบริหารในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ปี 1972 - การศึกษาโดย Lucien M. Hanks เกี่ยวกับระบบชนชั้นแบบปิรามิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อำนาจของผู้นำที่มีต่อผู้ตามขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัว กลุ่มนักการเมืองดึงความสนใจของประชาชนด้วยข้อตกลงต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ผู้ตามของคณะหนึ่งอาจเป็นผู้นำอีกคณะหนึ่ง แถบพื้นที่สูงทางภาคเหนือของประเทศไทย การรวมกันบริหารราชการแผ่นดินเกิดขึ้นน้อยมาก แม้จะรับคำสั่งมาจากจังหวัดหรือส่วนกลางก็ตาม แต่ละอำเภอสามารถทำอะไรได้ตามต้องการตราบที่ยังไม่กระทบต่อผู้บังคับบัญชาที่อยู่สูงกว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นไปตามระดับชั้นมากกว่าแบบเท่าเทียมกันของตะวันตก คนจนต้องการคนปกป้องดูแลและความเป็นอยู่ที่ดี ขณะที่คนรวยมั่งคั่งได้จากการลงทุนกับคนไม่ใช่การสะสมทรัพย์สมบัติ ในประเทศไทยกลุ่มชาวเขาบางกลุ่มปกปิดภูมิหลังของตนด้วยการทำอาชีพและแต่งกายแบบคนไทย การเกิดกลุ่มผู้ตามเป็นองค์ประกอบสำคัญในการที่จะเข้าใจพฤติกรรมทางสังคม | เอกสาร บทความ

56. รหัส : H-1-4-11

โครงการน้ำพอง

| ปี 1968 – ปัญหาจากโครงการสร้างเขื่อนน้ำพองเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการขยายคลองชลประทาน ซึ่งมีชาวบ้านได้รับผลกระทบอย่างมากจากการสร้างเขื่อนนี้ รัฐมีความสามารถในการสร้างสิ่งต่างๆมากมาย แต่กลับล้มเหลวในการแก้ปัญหาของประชาชน | เอกสาร บทความ

57. รหัส : H-1-4-12

บางชันและกรุงเทพฯ – มุมมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ

| ปี 1967 – ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นคือการบัญญัติเรื่องที่สำคัญของชาติที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น ทุกท้องถิ่นมีประวัติศาสตร์ของตนเองแต่เป็นประวัติศาสตร์ที่ขึ้นกับประวัติศาสตร์ชาติ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสะท้อนให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อชาติ ทั้งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติสะท้อนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โลก เมื่อท้องถิ่นและชาติรวมกันแล้ว ประวัติศาสตร์ของทั้งสองที่ต่างเกี่ยวพันซึ่งกันและกัน | เอกสาร บทความ

58. รหัส : H-1-4-20

การทุจริตและการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ปี 1971 – บทความ “Corruption and Commerce in Southeast Asia” ตีพิมพ์ลงในหนังสือ Transaction : Social Science and Modern Society กล่าวถึงการทุจริตและการค้าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | เอกสาร บทความ

59. รหัส : H-1-4-21

สมาคมและลูกน้อง

| ปี 1966 –ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างองค์กรทางสังคมของไทยและอเมริกา : รูปแบบขององค์กร กลุ่มลูกน้องและการก่อตัว กลุ่มลูกน้องในสภาพแวดล้อมแบบอุตสาหกรรม | เอกสาร บทความ

60. รหัส : H-1-4-22

ประเทศไทย : ความเสมอภาคระหว่างเพศ

| ปี 1963 - อธิบายถึงลักษณะครอบครัวของชนบท การทำหน้าที่ในแต่ละวันของสมาชิกในครอบครัวชาวนา เปรียบเทียบกับครอบครัวของสังคมเมือง ความคล้ายคลึงกันของเพศชายและเพศหญิง ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทของแต่ละเพศด้านขนบธรรมเนียมปฏิบัติ และบทบาทของแต่ละเพศในสมัยใหม่ | เอกสาร บทความ