ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

41. รหัส : H-1-5-15

เทคโนโลยีของภาชนะดินเผา

| การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตภาชนะดินเผาร่วมสมัย ในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Leedom Lefferts และ Louise Alloson Cort การศึกษานี้ได้แสดงขั้นตอนต่างๆ ของการผลิตภาชนะดินเผา โดยเฉพาะในขั้นตอนที่ผู้หญิงเป็นผู้ผลิตด้วยมือ | เอกสาร บทความ

42. รหัส : H-1-5-16

จดหมายจาก Leedom Lefferts ถึง Hanks

| วันที่ 28 พฤศจิกายน 1978 – จดหมายจาก Leedom Lefferts ถึง Hanks เพื่อขอบคุณที่ให้ยืมผ้าไทย เพื่อนำมาจัดนิทรรศการและจัดบรรยาย พร้อมกันนี้ Lefferts ได้ส่งสำเนาบทความเกี่ยวกับผ้าทอของชาวไทยอีสานมาให้ เพื่อขอความคิดเห็นและข้อแนะนำจาก Hanks | จดหมาย

43. รหัส : H-1-5-17

จดหมายจาก Constance M. Wilson ถึง Lucien M. Hanks

| วันที่ 27 พฤษภาคม 1987 – Wilson ได้ส่งสำเนารายงานการศึกษาเรื่อง “คาราวานชาวส่วย : การค้าและการเก็บภาษีในที่ราบสูงโคราชและหุบเขาแม่โขงกลาง ปี 1830-1870 มาให้กับ Hanks เพื่อเป็นข้อมูลช่วยสำหรับการศึกษาชาวเขา | จดหมาย

44. รหัส : H-1-5-18

เพชรพลอยในเมืองไทย

| การบรรยายประกอบสไลด์ก่อนการประชุมประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ ของสยามสมาคม โดย Raiko H Ruzic เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1964 บรรยายถึงแหล่งหินอันมีค่าในประเทศไทย และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างเพชรพลอยกับชีวิตและกิจกรรมของมนุษย์ มนุษย์แวดล้อมด้วยหินอันมีค่าที่มีความเชื่อว่ามีคุณสมบัติที่เป็นเวทมนต์ เป็นยารักษาโรค และนำมาซึ่งโชคดี | เอกสาร บทความ

45. รหัส : H-1-5-19

จารึกสุโขทัยหลักที่ 1

| คำแปลภาษาอังกฤษจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 โดย A.B. Griswold และ ประเสริฐ ณ นคร จากวารสารของสยามสมาคม ปี 1970 | เอกสาร บทความ

46. รหัส : H-1-5-20

การล่าวัวป่าและพิธีกรรม

| การวิจัย โดย Francis H. Giles เรื่องการล่าวัวป่าที่จังหวัดอุบลราชธานีและกาฬสินธุ์ รวมถึงพิธีกรรมและความเชื่อที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมในการล่าวัวป่า การล่าวัวถือเป็นเกมกีฬารูปแบบหนึ่งที่ผู้ล่าจะขี่ม้า แต่ท่ามกลางเกมกีฬานั้นก็มีความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ | เอกสาร บทความ

48. รหัส : H-1-4-1

การศึกษาที่บางชัน

| ปี 1959 – ระบบการศึกษาของบางชันมีหลายแง่มุม ทั้งการเลี้ยงเด็ก เลี้ยงสัตว์ การฝึกหัด การเรียนในโรงเรียน รวมถึงการเรียนพระธรรม คัมภีร์ และคาถา, ตารางแสดงจำนวนนักเรียนที่จบ ป.4 โรงเรียนบางชัน และจำนวนนักเรียนที่ได้ศึกษาต่อ | เอกสาร บทความ

49. รหัส : H-1-4-2

สภาปฏิวัติชาวไต

| บันทึกการเดินทางจากแม่จันไปแม่สาย - แฮงส์เดินทางไปเยี่ยมหมู่บ้านลื้อเพื่อไปพบ Sao Nga Kham นายพลแห่งกองทัพฉานอิสระ เพราะสนใจชนกลุ่มน้อยของกองทัพที่มาจาก keng tung หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทย แฮงส์ต้องการรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างชนกลุ่มน้อยในรัฐฉานและรัฐบาลพม่า รวมถึงการอพยพเข้าเมืองไทยของชนกลุ่มน้อย | เอกสาร บทความ

50. รหัส : H-1-4-3

ความเปลี่ยนแปลงในชีวิตครอบครัว

| ปี 1959 – คำจำกัดความของคำว่าญาติพี่น้อง การดำรงชีพของครอบครัว การประกอบธุรกิจ การซื้อขาย แลกเปลี่ยนของครอบครัว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปของครอบครัวขยายในท้องถิ่นต่างๆ | เอกสาร บทความ