ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

31. รหัส : H-1-5-5

บัญชีประเทศและประชากรแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| เอกสารภาษาเยอรมัน “Hinterindien länder und völker” บัญชีประเทศและประชากรแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Hans Manndorff | หนังสือ

32. รหัส : H-1-5-6

จุดที่น่าสนใจของประเทศไทย

| บทความในหนังสือ “Let’s talk about” โดย Edwin F. Stanaton ที่พูดถึงจุดที่น่าสนใจของประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศในแถบนี้ประเทศเดียวที่ไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศตะวันตก ขณะเดียวกันในแถบชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย กลับเป็นมีการขยายตัวและเป็นที่อาศัยของคอมมิวนิสต์จีน | เอกสาร บทความ

33. รหัส : H-1-5-7

การตีความทางชาติพันธุ์วรรณาและมานุษยวิทยาของประเทศไทย

| การศึกษาการตีความทางชาติพันธุ์วรรณาและมานุษยวิทยาของประเทศไทย โดย Charles F.Keyes มหาวิทยาลัยวอชิงตัน Keyes ได้พูดถึงการศึกษาชาติพันธุ์วรรณาในประเทศไทยตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และการเริ่มต้นศึกษาในช่วงหลังสงครามโลก (โครงการบางชัน) ความรุ่งเรืองของการวิจัยทางชาติพันธุ์วรรณาในประเทศไทย การตีความลำดับทางสังคมของไทย การตีความแบบองค์รวมของสังคมไทย พื้นฐานทางการเมืองและเศรษฐกิจของสังคมไทย โลกทัศน์และลำดับทางสังคมของไทย | เอกสาร บทความ

34. รหัส : H-1-5-8

คนไทยกับวัฒนธรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง

| บทความ “คนไทยกับวัฒนธรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง” โดย Annabelle R. Scoon กล่าวถึงประเทศและคนไทย โครงสร้างทางสังคม โครงสร้างทางเศรษฐกิจและชนชั้น พุทธศาสนา ธรรมชาติของคนไทย การอบรมเลี้ยงดูในชีวิตประจำวัน บุคลิกของคนไทย อดีตและอนาคต ภารกิจของรัฐ | เอกสาร บทความ

35. รหัส : H-1-5-9

สังคมชาวนาในภาคเหนือของประเทศไทย

| บทความ “สังคมชาวนาในภาคเหนือของประเทศไทย” โดย Andrew Turton ปรากฎในวารสาร “The Journal of Peasant Studies” เล่มที่ 3 ปีที่ 3 เดือนเมษายน ปี 1976 บทความนี้อธิบายถึงความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเกี่ยวกับกฎหมายของนักการเมือง ในกลุ่มของชาวนาในภาคเหนือของประเทศไทย ระหว่างเวลาสองช่วงด้วยกันคือ 1910-50 และ 1950-70 ครอบครัวของชาวนาและชุมชนท้องถิ่น ผู้อาวุโสของหมู่บ้านและผู้ใหญ่บ้าน แบบแผนปฏิบัติทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และรูปแบบที่เปลี่ยนแปลง สาเหตุและวิธีการของการเกิดการโต้แย้งและปัญหาจะถูกวิเคราะห์ในบริบทของความแตกต่างด้านสังคมและเศรษฐกิจ | เอกสาร บทความ

36. รหัส : H-1-5-10

อิทธิพลของศาสนาพุทธในประเทศไทย: พฤติกรรมในการบริหารงาน

| สรุปเนื้อหาบทความเรื่อง “อิทธิพลของศาสนาพุทธในประเทศไทย: พฤติกรรมในการบริหารงาน” โดย Thinapan Nikata แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธปรัชญาที่เข้ามามีผลต่อพฤติกรรมการบริหารงานของไทย | เอกสาร บทความ

37. รหัส : H-1-5-11

การผลิตภาชนะดินเผา

| การศึกษาเรื่องการผลิตภาชนะดินเผาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Leedom Lefferts และ Louise Alloson Cort รายงานฉบับนี้เสนอการค้นพบเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการจำแนกกระบวนการการผลิตภาชนะดินเผาร่วมสมัย รวมไปถึงการให้ความหมายการแพร่ของกระบวนการเหล่านี้ไปยังกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | เอกสาร บทความ

38. รหัส : H-1-5-12

ผ้าทอไทยอีสาน

| รายงานการศึกษาผ้าทอของชาวไทยอีสาน ในปี 1980 โดย Leedom Lefferts | เอกสาร บทความ

39. รหัส : H-1-5-13

ผู้หญิงกับกระบวนการผลิตภาชนะดินเผา

| บทความเรื่อง “ผู้หญิง ศูนย์กลางของงานช่างฝีมือเชิงอุตสาหกรรม: การผลิตภาชนะดินเผาในภาคอีสานของประเทศไทย” โดย Leedom Lefferts และ Louise Alloson Cort ปรากฎในวารสาร Museum Anthropology ปีที่ 23 ฉบับที่ 1 กล่าวถึงบทบาทของผู้หญิงในกระบวนการผลิตภาชนะดินเผาของครอบครัวกลุ่มชาวไทยโคราช ผู้ศึกษาพบว่าเทคนิคและการจัดการทางสังคมในการผลิตภาชนะดินเผานั้นแตกต่างกันไปตามกลุ่มชาติพันธุ์ | เอกสาร บทความ

40. รหัส : H-1-5-14

ภาชนะดินเผาและผ้าในภาคอีสานของประเทศไทย

| ภาชนะดินเผาและผ้าในภาคอีสานของประเทศไทย การศึกษาเรื่อง “Little Things Mean A Lot: Pots and Cloth in Northeast Thailand” โดย Leedom Lefferts และ Louise Alloson Cort ปรากฎในวารสารของสยามสมาคม ปีที่ 85 เล่มที่ 1และ 2 ผู้วิจัยศึกษาการทอผ้าและการผลิตภาชนะดินเผาในภาคอีสานของประเทศไทย เพื่อเป็นหนทางในการเข้าใจเทคโนโลยีการผลิตและการตลาด รวมไปถึงความสัมพันธ์ของชาติพันธุ์กับเทคโนโลยี บทบาทของเพศ ระดับชั้นทางสังคมในกระบวนการผลิต และมิติทางศิลปะของการผลิตเชิงวัฒนธรรม | เอกสาร บทความ