ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

11. รหัส : H-1-1-7

ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในแถบนี้จำนวนมากแต่งงานและตั้งรกรากอยู่ที่ประเทศ ใหม่ บางคนกลับไปเมืองจีนเมื่อหญิงจีนไม่สามารถอพยพตามมาได้ ชายจีนจึงต้องแต่งงานกับหญิงท้องถิ่น จึงก่อให้เกิดกระบวนการกลืนชาติ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การกลืนชาติถูกต่อต้านด้วยปัจจัยสองอย่างคือ ความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมดั้งเดิม จึงพยายามที่จะคงวัฒนธรรมของตนไว้ และสองความเป็นศัตรู ด้วยเหตุที่คนจีนกลุ่มนี้และกลุ่มทายาทคนจีนตัดสินใจเองในการหาภรรยาหรือ จัดการชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหานี้เป็นที่มาของชาตินิยมอย่างรุนแรง ดังนั้นแม้ว่าคนในรุ่นๆต่อมาจะไม่ได้อยู่ในประเทศจีน แต่พฤติกรรมความเป็นคนจีนของคนจีนโพ้นทะเลจะยังคงอยู่ คนจีนที่มีอายุแถบนี้มีหลายกลุ่มหลายภาษา นอกจากนี้ยังแตกต่างไปไปตามอาชีพการงาน ความรวยความจน และชนชั้น บทบาททางเศรษฐกิจของคนจีนมีความสำคัญทางการเมือง โดยเข้ามาเป็นตัวกลางของช่องว่างระหว่างชนชั้นปกครองกับชาวบ้าน การเพิ่มจำนวนประชากรจีนไม่ได้เพิ่มจากการอพยพเข้ามา แต่จากอัตราการเกิดของประชากร กลุ่มคนจีนที่เก่าแก่ที่สุดคือกลุ่มจีนฮ่อซึ่งมาจากยูนนาน อีกกลุ่มที่มาจากยูนนานคือส่วนที่เหลือของกลุ่มก๊กมินตั๋ง อาศัยอยู่แถบชายแดนของประเทศไทย | เอกสาร บทความ

12. รหัส : H-1-1-1

Reflections on the Ontology of Rice

| บทความ โดย Jane R. Hanks ปี 1960 กล่าวถึง ชุมชนที่ปลูกข้าวแถบภาคกลางของประเทศไทย ปรากฎพิธีกรรมในทุกกระบวนการที่เกี่ยวกับข้าว เริ่มตั้งแต่การเริ่มงอกของข้าว ไถ หว่าน ปลูก เก็บเกี่ยว และการทานข้าว โดยผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในพิธีกรรมเหล่านั้น งานในที่นาและพิธีกรรมมักจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย แต่สำหรับสังคมไทยผู้หญิงเป็นผู้ยึดบทบาทนี้ คนไทยมีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ดังนั้นจึงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับขวัญ เชื่อว่า “แม่ซื้อ” ซึ่งเป็นวิญญาณผู้หญิงเป็นผู้ดูแลขวัญ ชาวนาเชื่อว่าธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ข้าว มีแม่เป็นผู้ปกปักษ์รักษา ผู้หญิงจึงเป็นผู้ทำพิธีกรรม | เอกสาร บทความ

13. รหัส : H-1-2-15

การประชุมนานาชาติไทยศึกษา

| เอกสารการประชุมนานาชาติครั้งที่ 4 เรื่องไทยศึกษา, ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2533 คุนหมิง ประเทศจีน, ตารางการประชุมในแต่ละวัน หัวข้อและผู้นำเสนอ โดยเจน แฮงค์ ได้นำเสนอเรื่องมรดกของลัทธิขงจื้อในกลุ่มชาวเขา, รายชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “ผีเมือง: สัญลักษณ์ของรัฐและความเป็นผู้นำในกลุ่มไทดำ” โดย Dr. J.A. Placzek เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “พลวัตของกลุ่มชาติพันธุ์ของคนไทสิบสองปันนาในช่วงยุคสาธารณรัฐ โดย Shih-Chung Hsieh บทความเรื่อง “Theatre in Thailand” ละครของไทย โดยสุรพล วิรุฬลักษณ์ เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง “The Origin of Bo-Le” ความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรสุโขทัยและราชวงศ์หมิงช่วงต้นศตวรรษที่ 15 โดย Sun Laichen เอกสารประกอบการประชุม เรื่อง “สภาพแวดล้อมทางสังคมและบริบท: การสูญหายไปของม้งขาว” โดย Nicholas Tapp” บทความ “โครงสร้างทางสังคมและบทบาทของพราหมณ์ในประเทศไทยสมัยก่อน” ประวัติและผลงานของ Amarjiva Lochan นักวิจัยอาวุโส ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดลี | เอกสาร บทความ

14. รหัส : H-1-3-1

ความมั่นคงทางวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม

| รวมบทความจากการประชุมประจำปีของ The American Ethnological Society ปี 1957 | เอกสาร บทความ

15. รหัส : H-1-3-2

ระเบียบการใช้น้ำและมโนภาพของน้ำในกลุ่มชาวอินเดียนแบลคฟุต (Blackfoot)

| บทความของ Jane และ Lucien Hanks จากเอกสาร “Brief Communications ของ นักมานุษยวิทยาอเมริกัน | เอกสาร บทความ

16. รหัส : H-1-3-3

จดหมายจาก Louis Wolf

| วันที่ 31 ธันวาคม 1966 – เล่าถึงเรื่องที่อเมริกาเข้าไปช่วยเหลือในการสร้างความสะดวกสบายให้คนลาว ถนน โรงเรียน บ่อน้ำ และต้องการกลับไปที่ประเทศลาวอีกครั้งเพื่อช่วยเหลือประเทศเล็กๆแห่งนี้ | จดหมาย

17. รหัส : H-1-3-4

ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์

| บทความ “ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์” (Ethnohistory) โดย R. Carmack ปรากฎในบทวิจารณ์ประจำปีของมานุษยวิทยา | เอกสาร บทความ

18. รหัส : H-1-3-5

ศิลปะของดาบญี่ปุ่น

| บทวิจารณ์หนังสือ เรื่อง “ศิลปะของดาบญี่ปุ่น” เขียนโดย B.W. Robinson วิจารณ์โดย Schuyler V.R. Cammann | เอกสาร บทความ

19. รหัส : H-1-3-6

การเคลื่อนย้ายของชนกลุ่มน้อยที่แตกต่างกันในเมืองขนาดเล็กของประเทศไทย

| งานวิจัยของ Cristina Blanc Szanton ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ปี 1981 (ฉบับที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์) งานวิจัยนี้สำรวจแนวโน้มสำคัญของรูปแบบการเคลื่อนย้ายในต่างจังหวัดของ ประเทศไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยมุ่งไปที่ครอบครัวและอาชีพของครอบครัว | เอกสาร บทความ

20. รหัส : H-1-3-7

จุดประสงค์ของอำนาจ: ผู้หญิงกับทักษะ: วัฒนธรรมทางวัตถุในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| งานวิจัยของ Leedom Lefferts ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยดรู (เพื่อฉลองแด่ Jane Richardson Hanks สำหรับความช่วยเหลือในการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) | เอกสาร บทความ