ชุมชนบางชัน, กรุงเทพ

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารจำนวน 84 ระเบียน ชุดนี้มาจากการลงพื้นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางสังคมและชุมชนชนบทของบางชัน ปีพ.ศ. 2491 ประกอบไปด้วยข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชาวบ้านกับข้าวในชุมชนชาวนา มิติในเรื่องจักรวาลของชาวบ้านบางชัน ความเปลี่ยนแปลงของชีวิตครอบครัว ทัศนคติของชาวบางชันและกรุงเทพฯ ต่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติ นอกจากนี้ยังมีเอกสารของนักวิจัยท่านอื่นๆ ที่แฮงส์ใช้เป็นเอกสารอ้างอิง

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารทั้งหมด 84 ระเบียน ประกอบด้วย เอกสารรายงาน บทความ หนังสือ จดหมาย และภาพถ่าย

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารย่อยจำแนกตามพื้นที่ในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

1. รหัส : H-1-2-14/2

การประชุมเชิงปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์

| Thai – วันที่ 23-24 กรกฎาคม 1958, เจน แฮงค์และผู้เข้าร่วมประชุมคหกรรมศาสตร์ที่วิทยาลัยรัฐนิวยอร์ค มหาวิทยาลัยคอแนล, อิทากา, นิวยอร์ค การประชุมเชิงปฏิบัติการการศึกษานานาชาติเกี่ยวกับคหกรรมศาสตร์ | ภาพถ่าย

2. รหัส : H-1-2-14/1

การประชุมเชิงปฏิบัติการคหกรรมศาสตร์

| รายงานการประชุมเชิงปฎิบัติการคหกรรมศาสตร์ ระหว่างวันที่ 7-25 กรกฎาคม ค.ศ. 1958 มหาวิทยาลัยคอแนล โดยเจน แฮงค์, เอกสารสรุปการหารือเรื่องทรัพยากรทางมานุษยวิทยาสำหรับคหกรรมศาสตร์, โครงการของผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการนานาชาติเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กและ ความสัมพันธ์ในครอบครัว, รายชื่อผู้ตอบรับเข้าร่วมการประชุม, รายงานโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการคหกรรมศาสต | เอกสาร บทความ

3. รหัส : H-1-2-12

รายชื่อบุคคล

| รายชื่อบุคคล (หญิง) สามารถติดต่อและช่วยเหลือในการทำวิจัย | เอกสาร บทความ

4. รหัส : H-1-2-13

การประชุมประจำปีสมาคมเอเชียศึกษา

| การประชุมประจำปีสมาคมเอเชียศึกษา ปี 1986 รายชื่อคณะกรรมการ รายชื่อสมาชิกผู้ร่วมอภิปรายพร้อมหัวข้อ การประชุมนี้จัดขึ้นเป็นเกียรติแก่ลูเชียนและเจน แฮงค์ ในฐานะที่งานวิจัยของทั้งสองสร้างคุณูปการณือย่างมากต่อการศึกษาสังคมและ วัฒนธรรมของประเทศไทย | เอกสาร บทความ

5. รหัส : H-1-2-11

96 ฝน หลวงประสิทธิกลมัย

| หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสฉลองอายุครบ 8 รอบ หลวงประสิทธิกลมัย 22 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | หนังสือ

6. รหัส : H-1-2-4

ประเทศที่ถูกลืม ( 20 สิงหาคม 1990)

| บทความ “ประเทศที่ถูกลืม” (Forgotten Country) โดย Stan Sesser จากนิตยสาร The New Yoker ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 1990 ซึ่งพูดถึงลาวและเวียดนาม | เอกสาร บทความ

7. รหัส : H-1-2-5

คนอเมริกันกับการทำงานในประเทศไทย

| บทสัมภาษณ์ Lucien M. Hanks เกี่ยวกับการเข้ามาทำงานวิจัยในประเทศไทย ในรายการวิทยุของ USIS ออกอากาศเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ.1954 ณ สถานีทดลองออกอากาศ กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพฯ | เอกสาร บทความ

8. รหัส : H-1-2-3

Ontology of Rice Reflection

| วารสาร Education about Asia ปีที่ 9 เล่มที่ 3 ปี ค.ศ. 2004 ตีพิมพ์บทความของ Jane R. Hanks เรื่อง สิ่งสะท้อนที่ทำให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของข้าว (Ontology of Rice Reflection) | เอกสาร บทความ

9. รหัส : H-1-2-1

Ontology of Rice

| บทความ โดย Jane R. Hanks ปี 1960 กล่าวถึง ชุมชนที่ปลูกข้าวแถบภาคกลางของประเทศไทย ปรากฎพิธีกรรมในทุกกระบวนการที่เกี่ยวกับข้าว เริ่มตั้งแต่การเริ่มงอกของข้าว ไถ หว่าน ปลูก เก็บเกี่ยว และการทานข้าว โดยผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในพิธีกรรมเหล่านั้น งานในที่นาและพิธีกรรมมักจะเป็นหน้าที่ของผู้ชาย แต่สำหรับสังคมไทยผู้หญิงเป็นผู้ยึดบทบาทนี้ คนไทยมีความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ดังนั้นจึงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับขวัญ เชื่อว่า “แม่ซื้อ” ซึ่งเป็นวิญญาณผู้หญิงเป็นผู้ดูแลขวัญ ชาวนาเชื่อว่าธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ข้าว มีแม่เป็นผู้ปกปักษ์รักษา ผู้หญิงจึงเป็นผู้ทำพิธีกรรม | เอกสาร บทความ

10. รหัส : H-1-1-6

Entourage in Southern Thailand

| การศึกษาโดย Lucien M. Hanks เกี่ยวกับระบบชนชั้นแบบปิรามิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อำนาจของผู้นำที่มีต่อผู้ตามขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ส่วนตัว กลุ่มนักการเมืองดึงความสนใจของประชาชนด้วยข้อตกลงต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน ผู้ตามของคณะหนึ่งอาจเป็นผู้นำอีกคณะหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นไปตามระดับชั้นมากกว่าแบบเท่าเทียมกันของตะวันตก คนจนต้องการคนปกป้องดูแลและความเป็นอยู่ที่ดี | เอกสาร บทความ