พ.ศ.2522-2524

ขอบเขตและเนื้อหา :

พ.ศ. 2522-2524 เอกสารชุดนี้มาจากการทำงานภาคสนามครั้งที่ 4 ของมอร์แมนเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับงานวิจัยเพิ่มเติม รวมไปถึงเยี่ยมเยียนชุมชนไทลื้อที่บ้านแพด อ.เชียงคำ จ.พะเยาอีกครั้งหนึ่ง เอกสาร 133 ระเบียน ประกอบด้วย สไลด์ บัตรบันทึกแบบเจาะ จดหมาย และเอกสารพิมพ์

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : สไลด์ บัตรบันทึกแบบเจาะ จดหมาย และเอกสารพิมพ์

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ไมเคิล มอร์แมน, ปี พ.ศ. 2548

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามปีที่เข้ามาศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารบางส่วนจำกัดการเข้าใช้ ผู้ที่สนใจเอกสารชุดดังกล่าว สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่โครงการจดหมายเหตุฯ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

61. รหัส : MM-1-80-1

บาหลี

| พิธีบูชาวิญญาณภูติผีปีศาจ สิ่งของและสัตว์ที่ใช้เป็นเครื่องเซ่น ผู้ที่ประกอบพิธีกรรมคือพราหมณ์ มอร์แมนได้ไปงานฉลอง 5 ปี ของวัดแห่งหนึ่ง ได้ชมการระบำพื้นเมือง เรียกว่า “dambuh dance” จากนั้นได้มีโอกาสไปงานศพและงานฉลองของวัด Banjar มีการแสดง Wayang wong ซึ่งมาจากรามายนะ ซึ่งต่างจากของชวา และมีพิธีกรรมต่างๆ มากมาย ชาวบาหลีอพยพมาจากหมู่เกาะสุมาตราและสุราเวสี มีการทำเกษตรกรรม สร้างวัดและพิธีกรรมต่างๆ ที่นี่ “Angel dance” เป็นการร่ายรำเพื่อล้างบาปให้กับคนในหมู่บ้าน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

62. รหัส : MM-1-80-2

บาหลี

| งานเฉลิมฉลองที่วัด pura desa มีการแสดงและบูชาเทพเของฮินดูชาวบาหลีมีเทพเจ้าองค์เดียวแต่ปรากฎในรูปแบบที่หลากหลาย ของที่นำมาถวายเป็นการขอบคุณแม่น้ำ อากาศและอาหาร ชาวบาหลีจะขายที่ดินเพื่อส่งลูกให้ได้เรียนสูงๆ นอกจากนี้ยังขายที่ดินเพื่อนำเงินมาสร้างที่เผาศพของครอบครัว ในด้านการบริหารจัดการภายในหมู่บ้าน ผู้นำมีอำนาจในการตัดสินใจ โดยมีความเห็นชอบจากการลงเสียงของคนในหมู่บ้าน, การทำงานและรายได้ของชาวบาหลี, การชนไก่จะมีขึ้นในงานเทศกาลของวัดเพื่อเป็นการสังเวยเลือดให้กับวิญญาณของผี ชาวบาหลีมองว่าโทรทัศน์เป็นสิ่งหน้าเบื่อและไม่ควรให้ลูกหลานดูมากเกินไป เพราะจะทำให้เสียการเรียน นักเรียนจะใช้ภาษาอินโดนีเซียมากกว่าเพื่อหลีกเลี่ยงนัยยะทางชนชั้นที่แฝงอยู่ในภาษาบาหลี งานเฉลิมฉลองที่วัด banjar เป็นการฉลองศาสนสถานหรือวัดใหม่ ชาวบ้านจะนำของมาถวายและเซ่นไหว้วิญญาณของภูติผี มีการแสดง wayang wong ชาวบ้านจะฆ่าหมูและแพะเพื่อมาทำอาหาร | บัตรบันทึกแบบเจาะ

63. รหัส : MM-1-80-3

การคุมกำเนิดในบาหลี

| การคุมกำเนิดในบาหลีมักไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากระบบที่เข้มงวดของ banjar นอกจากนี้ข้อมูลของ banjar ไม่ค่อยสมบูรณ์สำหรับเอเชียหรือการสำรวจการคุมกำเนิด ที่ต้องการความเที่ยงตรงในเรื่องสถิติของการเกิดและการตาย | บัตรบันทึกแบบเจาะ

64. รหัส : MM-1-80-4

การพูดคุยกับ Boetisantoso (13 พ.ย. 79)

| Boetisantoso เป็นที่ปรึกษาโทรทัศน์ของรัฐและกระทรวงวัฒนธรรม เขาศึกษาผลกระทบของการสื่อสารผ่านดาวเทียม โดยเฉพาะโทรทัศน์ โฆษณาไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบการบริโภคของคนในชนบท คนดูโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงมากกว่าเพื่อหาความรู้ ส่วนข่าวเสนอเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ผู้นำ ในชวาหรือบาหลีโทรทัศน์ไม่เป็นที่ต้องการมากนัก การมีโทรทัศน์ที่บ้านของคนสำคัญหรือที่สาธารณะก็ถือว่าเพียงพอแล้ว การมีโทรทัศน์เป็นเครื่องแสดงความร่ำรวยหรือการเป็นคนสำคัญ คนจะลงทุนกับการซื้อควาย ที่ดิน หรือทรัพยากรอื่นๆ ที่ให้ผลผลิต มากกว่าที่จะซื้อโทรทัศน์ คนจะนิยมฟังวิทยุมากกว่า | บัตรบันทึกแบบเจาะ

65. รหัส : MM-1-2-260

| | สไลด์

66. รหัส : MM-1-2-261

| | สไลด์

67. รหัส : MM-1-75-4

จดหมายจ่าหน้าถึงมอร์แมน (ไม่ระบุชื่อผู้ส่ง)

| การเตรียมตัวเดินทางไปฟิลิปินส์ของมอร์แมน | จดหมาย

68. รหัส : MM-1-75-3

จดหมายแนะนำตัวมอร์แมน

| จดหมายแนะนำตัวมอร์แมนจาก M. Ladd Thomas ถึง Dr. Raul de Guzman | จดหมาย

69. รหัส : MM-1-75-5

จดหมายจาก Raul P. de Guzman ถึงมอร์แมน

| Guzman แนะนำบุคคลต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของมอร์แมนในฟิลิปปินส์ | จดหมาย

70. รหัส : MM-1-75-6

จดหมายจากมอร์แมนถึง Dr. Donn V. Hartt

| มอร์แมนขอความอนุเคราะห์ต่างๆ จาก Hartt เกี่ยวกับการเดินทางไปฟิลิปินส์ | จดหมาย