พ.ศ.2501-2504

ขอบเขตและเนื้อหา :

ปี พ.ศ. 2501-2504 เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารที่บันทึกในช่วงที่ ศ.มอร์แมน เข้ามาทำงานภาคสนามครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้เวลา 2 ปี อาศัยอยู่ในบ้านแพด เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เอกสาร 3295 ระเบียน ประกอบด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารจำนวน 3295 ระเบียน ประกอบไปด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ไมเคิล มอร์แมน, ปี พ.ศ. 2548

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามปีที่เข้ามาศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารบางส่วนจำกัดการเข้าใช้ ผู้ที่สนใจเอกสารชุดดังกล่าว สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่โครงการจดหมายเหตุฯ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

2731. รหัส : MM-1-21-285

สัมภาษณ์ พ.ต.อ.สุชาติ เลือนฉัว

| 16 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ พ.ต.อ.สุชาติ เลือนฉัว ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภาคเหนือ (?) มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ตำรวจที่ประจำการอยู่ในเมืองใหญ่ (กรุงเทพฯ ?) จะได้เปรียบเรื่องการสืบสวนมากกว่าตำรวจที่ประจำการอยู่ต่างจังหวัดเพราะสามารถใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่างๆ สืบหาร่องรอยในที่เกิดเหตุได้เร็วกว่า 2) กฎหมายที่ใช้กับอันธพาลอนุญาตให้ตำรวจสามารถขังผู้ที่มีพฤติกรรมอันธพาล ซ่องโจรหรือชอบก่อความเสียหายให้ผู้อื่นโดยมิต้องส่งฟ้องศาลได้ 3) เป็นการยากที่จะพิสูจน์ว่าทรัพย์สินที่ผู้ต้องสงสัยครอบครองอยู่เป็นสิ่งของที่ได้มาจากการขโมย (รับซื้อของโจร) เพราะตำรวจต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าผู้ต้องสงสัยรับซื้อของดังกล่าวมาโดยทราบอยู่แล้วว่าเป็นสิ่งของที่ถูกขโมยมา ทั้งนี้ผู้ต้องสงสัยสามารถเลือกที่จะปฏิเสธได้ว่าตนเองไม่ทราบว่าสิ่งของดังกล่าวถูกขโมยมาก่อนที่จะนำมาขายให้กับตน 4) ในแต่ละเดือนมีตำรวจจำนวนมากที่ถูกไล่ออกเพราะคดีทุจริต แต่ทั้งนี้ในบางคดีก็เป็นการใส่ร้ายจากชาวบ้านที่เสียผลประโยชน์เพราะการจับกุมของตำรวจด้วยการส่งบัตรสนเท่ห์ไปยังกองคดี (?) | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2732. รหัส : MM-1-21-286

สัมภาษณ์ผู้กองเฉลิมชัย

| 9 ม.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ผู้กองเฉลิมชัยซึ่งประจำการอยู่ สภ.อ.เมือง จ.เชียงใหม่มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) พยานส่วนใหญ่ไม่ชอบที่จะไปให้การในชั้นศาลเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเสียเวลาและยังหวาดกลัวญาติของผู้ต้องหาจะมาทำร้ายหากขึ้นให้การปรักปรำ 2) ส่วนใหญ่แล้วศาลจะเชื่อถือในพยานประจักษ์มากกว่าหลักฐานแวดล้อม 3) ความผิดในคดีลหุโทษ ตำรวจมีอำนาจในการสั่งขังผู้ต้องหาเป็นเวลา 1 เดือนและสั่งปรับเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำไม่เกิน 1,000 บาท 4) ในบางครั้งความผิดบางอย่างของชาวบ้าน เช่น การเล่นการพนัน การฆ่าหมู การต้มเหล้าเถื่อน ตำรวจก็หลีกเลี่ยงที่จะทำการจับกุมเพราะถือว่าเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่มีมานานแม้ว่าจะขัดกับหลักกฎหมาย 5) ขั้นตอนการส่งฟ้องผู้ต้องหาไปยังศาลซึ่งบางครั้งศาลมักอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการฝากขังได้เพราะทราบว่าตำรวจต้องใช้เวลาในการเตรียมสำนวนส่งฟ้อง | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2733. รหัส : MM-1-21-287

บทสัมภาษณ์ ทวี เกี่ยวกับกรมตำรวจ

| 8 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ทวี มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ในยุคแรกเริ่มของการก่อตั้งกรมตำรวจ ได้มีการว่าจ้างนาย Eric Saint J.Lawson ชาวอังกฤษเข้ามาช่วยงานขยายงานตำรวจภูธรไปยังหน่วยการปกครองส่วนภูมิภาคต่างๆ 2) ครั้งหนึ่งทวีต้องการขออนุญาตศาลฝากขังผู้ต้องสงสัยเพิ่มอีก 15 วัน แต่ศาลไม่อนุญาตเขาจึงลักพาตัวผู้ต้องสงสัยจากบริเวณหน้าศาล ภายหลังจากผู้ต้องสงสัยที่ได้รับการปล่อยตัว เขาเชื่อว่าคดีดังกล่าวศาลได้รับสินบนจากผู้ต้องสงสัย 3) เหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (1932) ซึ่งพระยาอธิกรณ์ประกาศ (หลุย จาติกวณิช) ดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจ 4) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกรมตำรวจภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 4) การทำงานของทวีในห้องทดลองเพื่อไขคดีต่างๆ ด้วยกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ 5) เทคนิคต่างๆ ในการเตรียมความพร้อมของพยานก่อนขึ้นให้การ และการรับมือกับศาล 6) ขั้นตอนและเทคนิคทางจิตวิทยาต่างๆ ที่ใช้ในการสอบสวนผู้ต้องสงสัย รวมถึงการใช้กำลังกับผู้ต้องสงสัยให้รับสารภาพ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2734. รหัส : MM-1-21-288

สัมภาษณ์ที่ปรึกษาชาวอเมริกัน

| 19 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์นาย Goryen (?) ชาวอเมริกันซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้กับสถานีตำรวจภูธรภาคเหนือ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครอยากเป็นตำรวจเพราะได้เงินเดือนน้อยและมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่ค่อนข้างยาก 2) ตำรวจต้องทำงานเกินหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ เช่น การดูแลจราจร ตามความเห็นของ Goryen ควรที่จะมีตำรวจซึ่งทำหน้าที่ในการสืบสวนโดยเฉพาะ 3) USOM (?) ได้ให้ความช่วยเหลือกับกรมตำรวจในเรื่องพาหนะและอุปกรณ์สื่อสารแต่อุปกรณ์ดังกล่าวกลับถูกนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่นำไปใช้ในเรื่องส่วนตัว | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2735. รหัส : MM-1-21-289

Joe O’Neil

| ต้นเดือน มี.ค. Joe O’Neil ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมมาธิการตำรวจประจำ จ.เชียงใหม่ต้องคอยต้อนรับแขกคนสำคัญที่มาเยี่ยมเยือนเพื่อให้คนพวกนี้ออกเสียงสนับสนุนเขาเพราะเขากำลังพยายามผลักดันให้ซ่องนางโลมมาอยู่ภายใต้การดูแลของตำรวจ (?) | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2736. รหัส : MM-1-21-290

ผู้กองสุภัทร

| 4 เม.ย. 1969 บดินทร์และผู้กองสุภัทรถกเถียงกันถึงการปฏิบัติงานของตำรวจซึ่งควรที่จะมีความยุติธรรมต่อประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ตัวอย่างเช่น การปรับค่าปรับผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรที่มีฐานะต่างกันหรือการให้บริการกับข้าราชการกับประชาชนทั่วไป ในบางครั้งตำรวจอาจจำเป็นต้องให้บริการกับข้าราชการก่อนเพราะทั้งสองฝ่ายต่างต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ส่วนการให้บริการกับประชาชนนั้นต้องขึ้นอยู่กับกรณีว่ามีความเร่งด่วนมากน้อยเพียงใด | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2737. รหัส : MM-1-21-291

สัมภาษณ์ผู้กองสิน

| 3 เม.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ผู้กองสิน มีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) แผนกสืบสวนมีหน้าที่ในการเก็บค่าปรับจากคดีต่างๆ ที่เสียค่าปรับไม่เกิน 2,000 บาท จำนวนเงินค่าปรับขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตำรวจ หากผู้กระทำผิดไม่เคยมีประวัติมาก่อนหรือมีความสนิทสนมกับตำรวจก็อาจได้รับลดหย่อนค่าปรับ แต่ทั้งนี้หากผู้กระทำผิดปฏิบัติตนไม่สุภาพอาจต้องเสียค่าปรับเต็มอัตรา 2) ในระหว่างการสนทนานายตำรวจกลุ่มหนึ่งต้องการให้ผู้กองสินปล่อยลูกน้องของตนจากการคุมขัง แต่เขาให้การปฏิเสธและอ้างว่าตนเองไม่มีอำนาจในการสั่งการ อย่างไรก็ดีตามความเห็นของมอร์แมนหากเขาไม่ได้ทำการสัมภาษณ์อยู่ ผู้กองสินคงจะรับเงินจากตำรวจกลุ่มนั้นและยอมปล่อยตัวผู้ต้องหาไป | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2738. รหัส : MM-1-21-292

สัมภาษณ์ผู้กองสิน

| 31 มี.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ผู้กองสินมีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) รายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการประกันตัวผู้ต้องหา ตำแหน่งข้าราชการโฉนดที่ดินและเงินสดสามารถนำมาใช้ค้ำประกันเพื่อประกันตัวผู้ต้องหาได้ 2) การลงบันทึกประจำวันรับเรื่องราวคำฟ้องต่างๆ จากประชาชนและการช่วยประนีประนอมคู่กรณีทั้งสองฝ่ายก่อนที่เรื่องจะไปถึงศาล 3) ขั้นตอนการสอบสวนผู้ต้องหาและปัญหาเกี่ยวกับการไม่ให้ความร่วมมือของพยาน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2739. รหัส : MM-1-21-293

สัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์ ผู้กอง สภ.อ.สารภี จ.เชียงใหม่

| 19-20 มี.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์มีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) จำนวนของตำรวจต่อจำนวนประชากรที่ไม่สมดุลกันทำให้การทำงานไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ดีชาวบ้านส่วนใหญ่จะคอยเป็นหูเป็นตาช่วยสอดส่องดูและความเรียบร้อยภายในหมู่บ้านของตนให้ตำรวจ 2) คดีพ่อฆาตกรรมลูกชายของตนโดยทำไปเพื่อการป้องกันตน 3) การใช้ภาพถ่ายถ่ายประกอบสำนวนส่งฟ้องผู้ต้องหา 4) วิธีการต่างๆ ที่ตำรวจใช้เพื่อให้ผู้ต้องหารับสารภาพ 5) ประวัติการศึกษาและการทำงาน 6) คดีฆาตกรรมหญิงสาวโดยหนึ่งในชายชู้ของเธอ 7) สถิติการเกิดคดีต่างๆ ในท้องที่ 8) แนวทางการให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตนเองจากเหตุร้ายและอาชญากร | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2740. รหัส : MM-1-21-294

สัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์ ผู้กอง สภ.อ.สารภี จ.เชียงใหม่

| 27 มี.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์พันตรีสัมพันธ์ มีประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ตำรวจมีอำนาจในการคุมขังบุคคลที่มีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดปัญหา (อันธพาล) ได้นาน 30 วัน อย่างไรก็ดี ทั้งผู้กองและนายอำเภอไม่เห็นด้วยกับกฎหมายฉบับดังกล่าวเพราะบางคนอาจถูกคุมขังโดยมีความผิดในข้อหานี้นานถึง 10 ปี 2) ตำรวจจะได้รับส่วนแบ่งจากค่าปรับในคดีที่ได้ทำการจับกุม 3) ช่องทางต่างๆ ในการรับสินบนของตำรวจ เช่น การอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาการช่วยเปลี่ยนแปลงผลการสอบสวน ฯลฯ 4) ขั้นตอนในการสืบสวนสอบสวนคดีพ่อฆาตกรรมลูกชายของตน | บัตรบันทึกแบบเจาะ