พ.ศ.2501-2504

ขอบเขตและเนื้อหา :

ปี พ.ศ. 2501-2504 เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารที่บันทึกในช่วงที่ ศ.มอร์แมน เข้ามาทำงานภาคสนามครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้เวลา 2 ปี อาศัยอยู่ในบ้านแพด เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เอกสาร 3295 ระเบียน ประกอบด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารจำนวน 3295 ระเบียน ประกอบไปด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ไมเคิล มอร์แมน, ปี พ.ศ. 2548

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามปีที่เข้ามาศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารบางส่วนจำกัดการเข้าใช้ ผู้ที่สนใจเอกสารชุดดังกล่าว สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่โครงการจดหมายเหตุฯ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

2721. รหัส : MM-1-21-275

สัมภาษณ์ร้อยตำรวจเจริญ

| 14 ม.ค. มอร์แมนสัมภาษณ์ร้อยตำรวจเจริญ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) บรรดาชาวเขาและคนต่างจังหวัดต่างมองตำรวจว่าเป็นศัตรู เพราะตำรวจเขาไปเก็บภาษีและชอบใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ การกระทำของตำรวจเปิดโอกาสให้คอมมิวนิสต์เข้าไปยุยงชาวบ้านให้ต่อต้านรัฐบาล 2) ตำรวจที่ดีต้องเป็นมิตรกับประชาชนและเป็นคนพูดเก่ง เพื่อที่จะได้คอยเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ 3) การปฏิบัติตนของตำรวจกับพยานซึ่งต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพื่อที่พยานจะได้ยอมมาเป็นพยานให้ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2722. รหัส : MM-1-21-276

หลักฐานประกอบการพิจารณาคดี

| 20 มี.ค. ผู้กอง สภ.อ.สารภีให้ข้อมูลว่า พบข้อพิรุธ 2 ประการในคดีพ่อยิงลูกชาย คือ 1) พ่อให้การว่าลูกชายถือมีดในมือซ้าย ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วเขาเป็นคนถนัดขวา 2) รอยกระสุนทะลุออกมาเป็นวงกว้างเกินไป จำเป็นต้องส่งหลักฐานในส่วนนี้ไปพิสูจน์ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และเป็นครั้งแรกที่ผู้กองต้องใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบสำนวนคดี เนื่องจาก คดีที่เกิดขึ้นตามต่างจังหวัดส่วนใหญ่แล้วจะอาศัยหลักฐานที่เป็นพยานบุคคล | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2723. รหัส : MM-1-21-277

สัมภาษณ์หัวหน้ากองวิทยาศาสตร์สอบสวน

| 16 มิ.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์หัวหน้ากองวิทยาศาสตร์สอบสวน (ปัจจุบัน คือ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ-ข้อมูลโดยผู้แปล) มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) มอร์แมนขอทำสำเนาคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเขตภาคเหนือ 2) ความแตกต่างของการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ประกอบการพิจารณาคดีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ศาลไทยจะให้ความสำคัญกับหลักฐานที่เป็นคำให้การและใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนประกอบเท่านั้น 3) การใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะและมีความสามารถในการอธิบายข้อพิสูจน์ที่ได้จากหลักฐานเหล่านี้ให้ศาลเข้าใจ 4) ในการพิจารณาคดี หากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้โทษแก่จำเลยศาลจะให้ความเชื่อถือน้อยกว่าแต่ให้ประโยชน์กับจำเลยศาลจะให้ความเชื่อถือมากกว่า 5) ลำดับขั้นตอนการทำงานของกองวิทยาศาสตร์สอบสวนทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2724. รหัส : MM-1-21-278

สัมภาษณ์รักษาการณ์ผู้กำกับการตำรวจภูธรภาคเหนือ

| 16 มิ.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์รักษาการณ์ผู้กำกับการตำรวจภูธรภาคเหนือ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) สถานการณ์การต่อสู้บนภูเขา (?) ซึ่งมีตำรวจเสียชีวิตไปแล้ว 2 นาย 2) เนื่องจากกรมตำรวจเป็นองค์กรใหญ่จึงมีทั้งตำรวจที่ดีและตำรวจที่ไม่ดีปะปนกันไป แต่ตำรวจที่ดีก็มีจำนวนมากกว่าและกรมตำรวจกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุง 3) ทุกๆ ปี จะมีจเรตำรวจจากกรมตำรวจมาตรวจสอบการทำงานของตำรวจในท้องที่ 4) ขั้นตอนในการส่งคำร้องทุกข์ของผู้กล่าวหา 5) แม้ว่าในทางปฏิบัติขั้นตอนการสืบสวนและการส่งเรื่องฟ้องศาลจะมีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน แต่ตำรวจที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำงานสามารถที่จะหาช่องทางในการรับสินบนได้ 6) หน่วยจู่โจมพิเศษของกรมตำรวจถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกำลังเสริมในกรณีที่ตำรวจท้องที่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์รุนแรงได้ (การต่อสู้กับชาวแม้วบนภูเขา) | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2725. รหัส : MM-1-21-279

ความก้าวหน้าในอาชีพตำรวจ

| 10 มิ.ย. 1969 กรมตำรวจวางแผนที่จะส่งตำรวจไปทำการทดสอบภาษาอังกฤษที่กรุงเทพฯ คนที่สอบผ่านจะถูกส่งไปดูงานที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 6 เดือน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2726. รหัส : MM-1-21-280

สัมภาษณ์ผู้กำกับการตำรวจ จ.น่าน

| 18 มิ.ย. 1969 อ.ทุ่งช้าง (?) จ.น่าน เป็นเขตชายแดนที่สำคัญและอันตราย ดังนั้น ตำรวจ ศาล และอัยการควรร่วมมือกันทำงาน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2727. รหัส : MM-1-21-281

ดวง

| 18 มิ.ย. 1969 ดวงเคยเป็นผู้พิพากษาแถวภาคอีสาน ในขณะที่จอมพลถนอมเคยดำรงตำแหน่งร้อยโทอยู่ที่นั่น และผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่คนปัจจุบันก็เคยเป็นตำรวจสันติบาลประจำอยู่ที่ภาคอีสานในช่วงเวลาเดียวกัน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2728. รหัส : MM-1-21-282

สัมภาษณ์นักเรียนนายร้อยตำรวจ

| 28 พ.ค. 1969 บดินทร์สัมภาษณ์เพื่อนของเขาซึ่งเพิ่งจะสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจเกี่ยวกับขั้นตอนการสอบสวนผู้ต้องสงสัย เทคนิคการใช้กำลังบังคับผู้ต้องสงสัยให้รับสารภาพและวิธีการป้องกันตนเองให้พ้นผิด หากผู้ต้องสงสัยฟ้องร้องกลับในข้อหาใช้กำลังทำร้ายร่างกาย | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2729. รหัส : MM-1-21-283

การสนทนาบนรถไฟ

| 9 พ.ค. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์เรือง ผู้การเทพและอ้ายแก้วสนทนากันบนรถไฟโดยมีหัวข้อต่างๆ เช่น 1) เพราะเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบเข้าไปข่มเหงชาวแม้วจึงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ลุกขึ้นมาต่อต้าน 2) รัฐบาลยังไม่ให้ความสำคัญกับงานข่าวกรองและพื้นที่ที่เสียงภัยอย่าง อ.เชียงคำ (ภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์) 3) เพราะเงินเดือนน้อยตำรวจส่วนใหญ่จึงต้องรับสินบน 4) ผู้การเทพมีปัญหาในการทำงานกับนายตำรวจที่อยู่ใต้บังคับบัญชาคนหนึ่งแต่ไม่สามารถสั่งการหรือโยกย้ายได้เพราะนายตำรวจคนนั้นมีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่กรุงเทพฯ หนุนหลังอยู่ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2730. รหัส : MM-1-21-284

สัมภาษณ์ผู้การเทพ

| 16 ก.พ. 1969 ตำรวจกองปราบ (?) สามารถปฏิบัติงานข้ามท้องที่ได้ แต่ทั้งนี้การจะเข้าไปปฏิบัติงานได้ต้องได้รับคำร้องขอจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่รับผิดชอบในพื้นที่เสียก่อนหรือหากพบว่าตำรวจในท้องที่ปฏิบัติงานไม่ถูกต้องจึงจะสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ | บัตรบันทึกแบบเจาะ