พ.ศ.2501-2504

ขอบเขตและเนื้อหา :

ปี พ.ศ. 2501-2504 เอกสารชุดนี้เป็นเอกสารที่บันทึกในช่วงที่ ศ.มอร์แมน เข้ามาทำงานภาคสนามครั้งแรกในประเทศไทย โดยใช้เวลา 2 ปี อาศัยอยู่ในบ้านแพด เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เอกสาร 3295 ระเบียน ประกอบด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสารจำนวน 3295 ระเบียน ประกอบไปด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ และแผนที

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ไมเคิล มอร์แมน, ปี พ.ศ. 2548

การจัดเรียงเอกสาร : เอกสารจำแนกตามปีที่เข้ามาศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารบางส่วนจำกัดการเข้าใช้ ผู้ที่สนใจเอกสารชุดดังกล่าว สามารถติดต่อโดยตรงได้ที่โครงการจดหมายเหตุฯ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

2711. รหัส : MM-1-21-265

สัมภาษณ์วิมลสิริ

| 7 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์วิมลสิริ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) ความสำคัญของศาลประจำจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีจำนวนคดีความเกิดขึ้นสูง และมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก 2) วิมลสิริมีหน้าที่เป็นเลขาฯ ของรัฐมนตรี และคอยช่วยเหลือตอบคำถามต่างๆ ในรัฐสภา ตอนนี้เธอย้ายมาทำหน้าที่ตรวจสอบความคิดเห็นของสาธารณชนที่มีต่อการทำงานศาล 3) การโยกย้ายผู้พิพิพากษาซึ่งเกิดจากการร้องเรียน หรือเกิดจากการขัดแย้งระหว่างผู้พิพากษากับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2712. รหัส : MM-1-21-266

สัมภาษณ์ Bill Klaussner

| 3, 7 ก.พ. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์ Klaussner มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) การอนุญาตให้ทนายความระดับ 2 (second class lawyer) สามารถว่าความในคดีความระหว่างประเทศได้เช่นเดียวกับทนายความระดับ 1 (first class lawyer) 2) ภายในกระทรวงยุติธรรมเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายรัฐมนตรีฯ ในเรื่องงบประมาณ 3) ผู้พิพากษาส่วนใหญ่จะเชื่อถือรายงานเบื้องต้นที่ทางตำรวจส่งมาประกอบการพิจารณาคดี แต่ในบางครั้งตำรวจเองก็รับสินบนเพื่อเขียนสำนวนคดีความให้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 4) มารุต และ Klaussner มีแผนการที่จะให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนทั่วไป และจัดพิมพ์ตำรากฎหมายสำหรับทนายความ 5) ความเห็นของ Klaussner เกี่ยวกับบทบาทของคนรุ่นใหม่ (มารุต) ในสภาทนายความ และความเป็นอิสระของศาลฎีกาในการตัดสินคดีความ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2713. รหัส : MM-1-21-270

ความคิดเห็นของสุธนที่มีต่อการทำงานของตำรวจ

| 14 ม.ค. สุทนให้ข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของตำรวจ เช่น 1) การใช้กำลังข่มขู่ผู้ต้องสงสัยในระหว่างการสอบสวน 2) การอุปโลกน์ผู้ให้ข้อมูลในจับกุมผู้ต้องหาขึ้นมาเพื่อทำเรื่องขอรับรางวัลนำจับเสียเอง 3) การรับสินบนเพื่อล้มคดี 4) การเพิกเฉยต่อการแจ้งความของประชาชน หากไม่มีการจ่ายสินบนให้ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2714. รหัส : MM-1-21-267

สัมภาษณ์ ดร.ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ หัวหน้าภาคนิติเวช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

| 22 พ.ค. 1969 บดินทร์สัมภาษณ์ยงยุทธ มีหัวข้อต่างๆที่น่าสนใจ เช่น 1) เขาได้รับมอบหมายให้ตรวจสอบเขม่าดินปืน และร่องรอยของวิถีกระสุนในคดีสังหารนางจันเทียม 2) ค่าจ้างที่ผู้ต้องหาได้รับจากการสังหารนางจันเทียม และค่าจ้างวานในคดีลอบสังหารอื่นๆ 3) บ่อยครั้งที่ผู้ต้องหาในคดีลอบสังหารจะได้รับการจ้างวานจากบรรดาผู้มีอิทธิพล (ตำรวจ นักพนัน และพ่อค้าฝิ่น) 4) ลูกชายนางจันเทียมสงสัยว่าพ่อของเขาอาจเป็นคนจ้างวานให้สังหารแม่ของเขาเอง 5) การขึ้นให้การของยงยุทธที่ศาลในฐานะที่เป็นผู้เชียวชาญพิเศษทางด้านนิติเวช | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2715. รหัส : MM-1-21-268

สัมภาษณ์หัวหน้านายตำรวจประจำ จ.น่าน

| 18 มิ.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์หัวหน้านายตำรวจประจำ จ.น่าน มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) จอมพลถนอม กิตติขจรมีนโยบายปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายอย่างเด็ดขาด 2) ข้อมูลเกี่ยวกับขบวนการลักลอบตัดไม้ใน จ.ลำพูน และ จ.ลำปาง 3) คดีความส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นใน จ.น่านจะเป็นคดีเกี่ยวกับการลับลอบตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย ส่วนคดีลักขโมยสัตว์เลี้ยงมีเพียงเล็กน้อย สัตว์ที่ถูกขโมยจะถูกนำไปกินกันเอง มิได้ถูกนำไปขายต่อเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นๆ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2716. รหัส : MM-1-21-269

ความคิดเห็นของสุธนที่มีต่อการทำงานของตำรวจ

| 28 มี.ค. 1969 สุทนมองว่า การใช้อำนาจกดขี่ประชาชนของตำรวจเป็นสาเหตุที่ทำให้คอมมิวนิสต์สามารถแทรกซึมเข้ามาภายในประเทศ นอกจากนี้ เงินช่วยเหลือที่สหรัฐอเมริกาให้กับไทยตกถึงมือประชาชนทั่วไปเพียงแค่ 30% เท่านั้น ส่วนที่เหลือถูกเก็บเข้ากระเป๋าของบรรดาข้าราชการ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2717. รหัส : MM-1-21-271

ขั้นตอนการสืบสวนของตำรวจ

| 27 ก.พ. 1969 ตำรวจมีอำนาจมากขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และมักเข้าทำการจับกุมผู้ต้องสงสัยด้วยการใช้กำลัง นอกจากนี้ จำเลยและพยานต่างหวาดกลัวที่จะให้การกับตำรวจในระหว่างขั้นตอนการสืบสวน แต่สะดวกใจที่จะให้การระหว่างขั้นตอนการพิจารณาคดีในศาลมากกว่า | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2718. รหัส : MM-1-21-272

ขั้นตอนการสืบสวนของตำรวจ

| 19 ธ.ค. 1968 ตามความเห็นของนายตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการณ์ผู้อำนวยการกองปราบปราม ข้อบกพร่องสำคัญในคดีสืบสวนของตำรวจไทย คือ การขาดพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้ต้องหาก่อคดี เนื่องจากหลักฐานที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเสมอๆ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2719. รหัส : MM-1-21-273

สัมภาษณ์เสมียนประจำสถานีตำรวจ จ.เชียงใหม่

| 14 ม.ค. เสมียนให้ข้อมูลว่า สถิติการเกิดอาชญากรรมสูงขึ้นทุกปีเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และความสามารถในการทำงานตำรวจที่จับคนร้ายได้ คนท้องถิ่นส่วนใหญ่จะกลัวตำรวจ บางคดีที่เกิดขึ้นผู้ต้องหาเป็นคนมาจากต่างถิ่น | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2720. รหัส : MM-1-21-274

การทำงานของตำรวจ

| ต้นเดือน พ.ค. ตามความเห็นของธานินทร์ ตำรวจไทยยังขาดความสำนึกในหน้าที่ซึ่งมีผลให้กระบวนการยุติธรรมของไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร | บัตรบันทึกแบบเจาะ