ชนชาติเย้า

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารครอบคลุมการทำงานในการค้นคว้า บันทึกภาคสนามของผู้สร้าง บันทึกภาคสนามของผู้ช่วยวิจัย เอกสารเรียงพิมพ์จากข้อมูลภาคสนาม และภาพถ่าย ในการศึกษาเปรียบเทียบเย้าในจีนและในไทย อย่างไรก็ดี เอกสารโดยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการทำงานภาคสนามและการค้นคว้าในประเทศไทย ในจังหวัดเชียงราย น่าน และลำปาง มีเพียงภาพถ่ายจากการบันทึกการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเย้าในกวางสีเท่านั้น

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ :

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, พ.ศ. 2562

การจัดเรียงเอกสาร : ชุดเอกสารระดับ series จำแนกออกเป็น 5 file ตามหน้าที่และลักษณะเอกสาร ประกอบด้วย เอกสารในการค้นคว้า บันทึกภาคสนาม เอกสารเรียงพิมพ์จากข้อมูลสนาม บทความตีพิมพ์ และภาพถ่าย

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

31. รหัส : SK-2-2-14

สมุดบันทึกนิทานเย้า

| บ้านกิ่วต่ำ ต.บ่อเตา อ.งาว จ.ลำปาง [เล่ม 2] สมุดบันทึกโดยผู้ช่วยผู้วิจัย แต่ไม่ได้รับการเรียงพิมพ์ นิทานจำนวน 19 เรื่อง จากผู้ให้ข้อมูลจำนวนสองคน เช่น นิทานคุณของความโง่เขลา สัตว์ประหลาด | สมุดบันทึก

32. รหัส : SK-2-2-15

สมุดบันทึกนิทานเย้า

| บ้านกิ่วต่ำ ต.บ่อเตา อ.งาว จ.ลำปาง [เล่ม 1] สมุดบันทึกโดยผู้ช่วยผู้วิจัย แต่ไม่ได้รับการเรียงพิมพ์ นิทานจำนวน 10 เรื่อง จากผู้ให้ข้อมูลจำนวนสองคน เช่น นิทานพญางู นิทานอธิบายพิธีกรรมเมี่ยน | สมุดบันทึก

33. รหัส : SK-2-2-16

รายชื่อนิทาน เย้า

| กลุ่มประเภทนิทาน ได้แก่ เทวปกรณ์ ผี มุขตลก สัตว์ อธิบายเหตุ | เอกสาร บทความ

34. รหัส : SK-2-3-01

รายงานผลการวิจัย การเปรียบเทียบนิทานเย้าไทย-เย้ากวางสี

| พ.ศ. 2535 | รายงานประกอบด้วย 3 บทและภาคผนวกรายการนิทาน จำนวน 3 หน้า บทที่ 1 ผู้เขียนกล่าวถึงกรอบการวิจัย โดยรวบรวมจากหลักฐานปฐมภูมิ ที่มาจากการทำงานภาคสนามของตนเองและผู้ช่วยวิจัย และหลักฐานทุติยภูมิที่รวบรวมจากงานวิจัย บทความ และเอกสารอื่น ๆ เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ค | เอกสาร บทความ

35. รหัส : SK-2-3-02

ภาคผนวก 2 นิทานเย้ากวางสี ประเภทนิทานเวปกรณ์ หรือศาสนนิทาน, นิทานปรัมปรา

| พ.ศ. 2535 | ภาคผนวกส่วนนี้นำเสนอนิทานเทวปกรณ์เตามผู้ให้ข้อมูล จำนวน 11 เรื่อง เกี่ยวข้องกับกำเนิดโลก รวมถึงความเชื่อและพิธีกรรม นิทานปรัมปราตามผู้ให้ข้อมูล จำนวน 11 เรื่อง ท่วงทำนองสนุกสนานและเกี่ยวข้องกับสถานที่จริง นิทานแต่ละเรื่องระบุชือและภูมิลำเนาของผู้ให้ข้อมู | เอกสาร บทความ

36. รหัส : SK-2-3-03

ภาคผนวก 2 นิทานเย้ากว่างสี ประเภทประจำถิ่น, นิทานอธิบายเหตุ, นิทานสัตว์, นิทานผี และมุขตลกและเรื่องโม้

| พ.ศ. 2535 | ในส่วนนี้ประกอบด้วย นิทานประจำถิ่น 3 เรื่อง นิทานอธิบายเหตุ 6 เรื่อง นิทานสัตว์ 3 เรื่อง นิทานผี 15 เรื่อง มุขตลก 2 เรื่อง นิทานแต่ละเรื่องระบุชือและภูมิลำเนาของผู้ให้ข้อมูล | เอกสาร บทความ

37. รหัส : SK-2-3-04

ภาคผนวก 2 นิทานเย้าไทย ประเภทนิทานเทวปกรณัม

| พ.ศ. 2535 | ส่วนนี้นำเสนอนิทานเทวปกรณ์ จำนวน 12 เรื่อง ประกอบด้วยกลุ่มนิทานเกี่ยวกับบรรพบุรุษ กำเนิดจักรวาลและมนุษ์ และกลุ่มนิทานเกี่ยวกับเทวดาและเรื่องต่าง ๆ บนสวรรค์ | เอกสาร บทความ

38. รหัส : SK-2-3-05

ภาคผนวก 2 นิทานเย้าไทย ประเภทนิทานปรัมปรา

| พ.ศ. 2535 | ส่วนนี้นำเสนอนิทานปรัมปราที่จัดพิมพ์ 15 เรื่องจาก 39 เรื่อง เนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับความมหัศจรรย์ มีตัวละคนที่เป็นเจ้าหญิงเจ้าชาย และอมนุษย์ โดยเป็นนิทานที่รู้กันแพร่หลายและมีความยาวหลายตอน | เอกสาร บทความ

39. รหัส : SK-2-3-06

ภาคผนวก 2 นิทานเย้าไทย ประเภทนิทานประจำถิ่น

| พ.ศ. 2535 | นิทานจัดพิมพ์ 17 เรื่อง เนื้อเรื่องมักอ้างอิงให้เชื่อว่าเรื่องราวนั้นเคยเกิดขึ้นจริง ในสถานที่ที่มีอยู่จริง และอาจะกล่าวถึงตัวละครในประวัติศาสตร์ | เอกสาร บทความ

40. รหัส : SK-2-3-07

ภาคผนวก 2 นิทานเย้าไทย ประเภทนิทานอธิบายเหตุ

| พ.ศ. 2535 | นิทานที่จัดพิมพ์ 26 เรื่อง เนื้อหาบอกเล่มความเป็นมาของสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะที่มารูปลักษณ์ของคน สัตว์ พืช | เอกสาร บทความ