ชนชาติจ้วง

ขอบเขตและเนื้อหา :

เอกสารส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในการเก็บข้อมูลนิทานชาวบ้านและเพลงชาวบ้าน และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูล ตามแนวทางของนักมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ส่วนเรื่องประเพณี พิธีกรรม ภาษิตและพังเพย ตลอดจนวิถีชีวิตบางแง่มุม เป็นผลการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลและการสัมภาษณ์ผู้บอกข้อมูล (ชาวบ้านจ้วง) ในอีกส่วนหนึ่งเป็นบทความและหนังสือในการเผยแพร่ข้อมูลงานวิจัย

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ :

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, พ.ศ. 2562

การจัดเรียงเอกสาร : ชุดเอกสารระดับ series จำแนกออกเป็น 2 file ตามลักษณะการทำงาน โดยแบ่งเป็น เอกสารที่เกิดจากการทำงานในสาธารณรัฐประชาชนจีน และเอกสารที่เกิดขึ้นหลังสนามในราชอาณาจักรไทย

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial (TK A-NC)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

101. รหัส : SK-1-2-2-12

สภาพสังเขปทางขนบประเพณีและวัฒนธรรมของชนชาติส่วนน้อยในกวางสี

| กล่าวถึงกวางสีที่กอปรด้วยชนชาติที่หลากหลาย เช่น จ้วง ม้ง เย้้า ลักษณะขนบประเพณีในด้านต่าง เช่น ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า อาหาร เทศกาล และการแต่งงาน | เอกสาร บทความ

102. รหัส : SK-1-2-2-13

เปรียบเทียบวัฒนธรรมประเพณีของชนชาติจ้วงกับชนชาติไทย (สังเขป)

| พ.ศ. 2529 | บทความตีพิมพ์ในวารสารสถาบันวิจัยชาวเขา ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) กล่าวถึงความสัมพันธ์ทางเชื้อสายของจ้วง-ไต-ไทย และการเปรียบเทียบศาสนาและความเชื่อ รวมถึงประเพณีด้านต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย การทำมาหากิน และการแต่งงาน | เอกสาร บทความ

103. รหัส : SK-1-2-2-14

สถานภาพทางภาษาและอักษรของชนชาติในกวางสี (สังเขป)

| พ.ศ. 2529 | กล่าวถึงประวัติภาษาและอักษรชนชาตส่วนน้อยในกวางสี, แนะนำสถานภาพทางภาษาและอักษรของชนชาติส่วนน้อยในกวางสี และวิวัฒนการของภาษาชนชาติส่วนน้อยในกวางสี | เอกสาร บทความ

104. รหัส : SK-1-2-2-15

ว่าด้วยเรื่องเสียงจำพวกคำในกลุ่มภาษาจ้วงต้ง

| พ.ศ. 2529 | ว่าด้วยคำและการออกเสียงในภาษาจ้วงต้ง ที่แสดงให้เห็นลักษณะร่วมของภาษาร่วมเผ่าพันธุ์ เช่น วรรณยุกต์ เป็นต้น | เอกสาร บทความ

105. รหัส : SK-1-2-2-16

แง้มม่านไม้ไผ่

| พ.ศ. 2529 | บันทึกการเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีน พ.ศ.2526 เป็นเวลา 18 วันกล่าวถึงกิจกรรม สถานที่ และข้อสังเกตจากประสบการณ์เดินทาง | เอกสาร บทความ

106. รหัส : SK-1-2-2-17

มูลกำเนิดของคนชวง

| พ.ศ. 2511 | พบเอกสารเพียงบางส่วนระบุการแปลบทความเรื่องมูลกำเนิดของคนชวง ระบุถึงความเป็นมาของคนชวงที่สัมพันธ์กับคนไทย (มีบันทึกไว้ว่าา สำนาจากวารสารศิลปากร ปีที่ 12 เล่มที่ 2 (กรกฎาคม 2511)) | เอกสาร บทความ

107. รหัส : SK-1-2-2-18

คำประสมในภาษาถิ่นจ้วง [บทความภาษาอังกฤษ]

| พ.ศ. 2511 | การวิเคราะห์คำประสมจ้วงถิ่นเพื่อแสดงให้เห็นการติดต่อทางภาษา (พบเอกสารเพียงบางส่วนเท่านั้น) | เอกสาร บทความ

108. รหัส : SK-1-2-2-19

คำเรียกสีจ้วงและไทย [บทความภาษาอังกฤษ]

| พ.ศ. 2511 | คำเรียกสีแสดงให้เห็นวัฒนธรรมและภาษาร่วมกันของคนในสังคม (พบเอกสารเพียงบางส่วน) | เอกสาร บทความ

109. รหัส : SK-1-2-2-20

ศาสนา ความเชื่อของไทยและจ้วง

| พ.ศ. 2544 | การเปรียบเทียบแสดงให้เห็นความเชื่อที่มีร่วมกันระหว่างไทยกับจ้วง โดยเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับผู้ปกปักรักษา เกษตรกรรม และการเข้าทรง | เอกสาร บทความ

110. รหัส : SK-1-2-2-21

ชื่อหมู่บ้านในมณฑลกวางสีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

| พ.ศ. 2535 | [สำเนาเอกสารเพียงบางหน้าของผลงาน ปราณี พบสิ่งพิมพ์ใน sub file SK_01_02.3.] | เอกสาร บทความ