เอกสารจดหมายเหตุ

ทั้งหมด : 34,847 ระเบียน

2601. รหัส : MM-1-17-29

บ้าน

| 15 มิ.ย. 1965 การใช้พื้นที่ของเรือน ส่วนประกอบของเรือนและส่วนต่างๆของเรือน ความเชื่อเรื่องผีเรือนที่แตกต่างกันของชาวกะหล่อมและชาวลื้อ หากผู้ชายลื้อแต่งงานกับผู้หญิงกะหล่อม ผู้หญิงไม่สามารถอยู่บ้านของลื้อได้ แต่ไม่ผิดผีหากผู้หญิงกะหล่อมมีสามีเป็นคนลื้อ ทิศในการนอน แสงบ่นเรื่องการขาดต้นทุนในการทำงาน | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2602. รหัส : MM-1-17-30

การทำนา

| 15 มิ.ย. 1965 (จากการให้ข้อมูลของเมือง) การทำนา ปริมาณข้าวที่ปลูกได้ต่อไร่ ชาวบ้านไปปลูกข้าวที่ทุ่งลอเพราะประหยัดเงินและให้ผลผลิตดีกว่า การทำนาของเมือง ชาวบ้านหลายคนขายที่นาที่ทุ่งลอให้คนลาวที่เข้ามาอยู่ใหม่ ผู้ใหญ่บ้านขายนาป่าจำนวนมาก มอร์แมนพบว่าช่วงนี้นาบ้านและทุ่งลอไถหมดแล้ว รอแต่ฝนที่ทุ่งลอเพื่อจะได้ใส่กล้าต่อไป | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2603. รหัส : MM-1-17-31

เวลาของการสนทนา

| 15 มิ.ย. 1965 ช่วงเวลาของการสนทนา เมื่อเทียบการสนทนาระหว่างคนในหมู่บ้านกับคนในเมือง ไม่ค่อยมีการหยุดการสนทนาระหว่างที่คุยกับคนในหมู่บ้านเดียวกัน เมื่อมีแขกมาเยี่ยม ผู้นำจะกล่าวต้อนรับโดยยืนอ่านเอกสาร ส่วนผู้ที่มาเยี่ยมหมู่บ้านจะอยู่ในความเงียบ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2604. รหัส : MM-1-17-32

สุขและสาย

| 15 มิ.ย. 1965 สุขมีลูกสาวหนึ่งคนแต่เสียชีวิตแล้ว และตอนนี้สุขแต่งงานใหม่ สุขเรียกมอร์แมนว่าพ่อปู่ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2605. รหัส : MM-1-17-33

ลื้อและคนไทยกลุ่มอื่น

| 16 มิ.ย. 1965 (จากการให้ข้อมูลของพรและช่วย) สิ่งที่แสดงถึงความเป็นลื้อ โสร่ง ทรงผม เสื้อ กำลังจะสูญหายไป เหลือแค่คนลื้อและภาษาลื้อ ภาษาถิ่นเป็นสิ่งแยกความแตกต่างของคนลื้อกับกะหล่อมและระหว่างคนบ้านแพดและคนบ้านแวน ชาวกะหล่อมถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจ แต่คนลื้อถูกมองว่าขยัน ช่วยบอกว่ากะหล่อม ไทย ลาว ลื้อ เป็นพวกเดียวกันเพราะเข้าใจภาษาของกันและกัน เจ๊กและฮ่อเป็นพวกเดียวกัน ส่วนชาวเขาเป็นอีกพวกหนึ่ง | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2606. รหัส : MM-1-17-34

การพูดและคารม

| 16 มิ.ย. 1965 การใช้สำนวนคารมคมคาย แม่จัน บุญศรี เงิน เป็นคนพูดเก่ง คนที่พูดไม่เก่งเรียกว่า บ่จ้างอู้ หรือ บ่ฮู้ความ หยอกเล่น คือการพูดอะไรบางอย่างให้ผู้อื่นหัวเราะ | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2607. รหัส : MM-1-17-35

การวัด

| 16 มิ.ย. 1965 ระบบการวัด – ศอก, ศอกขนาด, วา, ,มือ, คีบ (ระยะจากนิ้วชี้ถึงนิ้วโป้ง), คืบ (ระยะจากนิ้วกลางถึงนิ้วโป้ง) | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2608. รหัส : MM-1-17-36

คำเรียกชื่อ

| 16 มิ.ย. 1965 คำเรียกชื่อ อีฟองเรียกอีหล้าเมื่อได้รับคำสั่งเร่งด่วน แสงเรียกหนานช่วยว่าพ่ออีพรหรือพ่อบ่านอม ไม่เรียกชื่อจริงหรือหนาน แสงจะเรียกตนเองว่าเปิ้นเมื่อพูดกับผู้หญิงสูงอายุ เมื่อหนานช่วยพูดกับแสงก็เรียกตนเองว่าเปิ้น | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2609. รหัส : MM-1-17-37

สุขและสาย

| 16 มิ.ย. 1965 หญิงสาวที่ไม่เคยแต่งงานแต่มีลูกไม่เรียกว่า “แม่ฮ้าง” จะเรียกชื่อไปจนกว่าลูกจะออกเดือน จากนั้นจึงเรียกว่า “แม่บ่าเล็ก” ชาวบ้านจะนินทาว่าเธอไม่ดี โง่ ลูกที่เกิดมาจะไม่ได้รับมรดก เรียกว่า “ลูกทาง” การมีลูกโดยไม่แต่งงานเรียกว่า “สู่กันบ่ดาย” ถือเป็นเรื่องไม่ดี ส่วนการได้แต่งงานกัน เรียกว่า “เอากันแต๊” | บัตรบันทึกแบบเจาะ

2610. รหัส : MM-1-17-38

ลื้อและคนไทยกลุ่มอื่น

| 17 มิ.ย. 1965 ลื้อและคนไทยกลุ่มอื่น ความแตกต่างของลื้อ กะหล่อม ลาว ในเรื่องการสัก ภาษาพูด การเกล้าผม กางเกง ซิ่น การทอผ้า เตาไฟ การแต่งงานข้ามชาติพันธุ์และภาษาพูดของลูกที่เกิดมา ความเชื่อในเรื่องผีบ้าน ทัศนคติของหนุ่มสาวในการแต่งกายแบบลื้อ | บัตรบันทึกแบบเจาะ