เอกสาร บทความ รายงาน

ขอบเขตและเนื้อหา :

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : เอกสาร บทความ รายงาน 32 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : แฟ้มเอกสารจำแนกตามประเภทเอกสาร

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

1. รหัส : H-1-2-10

การอยู่รอดของชาวเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| บทความโดย Jane Hamilton-Merritt กล่าวถึง ชีวิตของชาวเขาในกัมพูชา พม่า ลาวและไทย การทำมาหากินและความเป็นอยู่ของชาวเขา บางประเทศใช้ชาวเขาเป็นกองกำลังทหาร บางประเทศปราบปรามชาวเขาที่ต่อต้านอย่างรุนแรง ด้วยเชื่อง่าชาวเขากลุ่มนี้อาจเป็นกบฏต่อรัฐบาล คนจำนวนน้อยที่รู้จักกลุ่มชาติพันธุ์และวัฒนธรรมของคนกลุ่มนี้ ชนชาวเขาจึงสูญหายไปจากความเจ็บป่วย ไม่ได้รับการศึกษา และไม่มีสิทธิ์และเสียงเรียกร้องว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา ในอดีตชาวเขาภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และอารยธรรมของตน แต่ปัจจุบันพวกเขาเป็นเพียงผู้อพยพ ผู้เขียนจึงต้องการก่อตั้งองค์กรขึ้นมาช่วยให้ชาวเขาอยู่รอดต่อไปได้ | เอกสาร บทความ

2. รหัส : H-1-2-9

การประชุมสัมนาเรื่องชาวเขาและประเทศไทย

| บันทึกการประชุมสัมนาเรื่องชาวเขาและประเทศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 ส.ค.- 1 ก.ย. 1967 เชียงใหม่ สนับสนุนโดยศูนย์วิจัยชาวเขา สังเกตุการณ์และบันทึกการประชุมโดย Toshio Yatsushiro | เอกสาร บทความ

3. รหัส : H-1-2-8

สรุปข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณแม่กก ประเทศไทย

| รายงานสรุปข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่บริเวณแม่กก ประเทศไทย พร้อมความคิดเห็นภายหลังเกี่ยวกับรูปแบบการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่สูง โดยลูเชียน แฮงค์, เจน แฮงค์ และลอริสตัน ชาร์ป ตามรายงานมีข้อมูลสรุปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ประชากร สภาพความเป็นอยู่ที่ดี พื้นที่บริเวณชายแดน การกระจายของประชากร การจัดการด้านการเมือง รูปแบบการเคลื่อนย้ายภายในพื้นที่ ทิศทางของการเคลื่อนย้าย การกระจายของหมู่บ้าน ปัจจัยด้านชาติพันธุ์ในที่ตั้งถิ่นฐาน และลักษณะทั่วไปของรูปแบบการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่สูง | เอกสาร บทความ

4. รหัส : H-1-2-7

การศึกษาของชาวลาหู่และอาข่า

| การศึกษาของชาวลาหู่และอาข่า โดย Paul Lewis เด็กลาหู่ได้รับการศึกษาจากโรงเรียนในหมู่บ้าน บางส่วนมีโอกาสได้เข้าไปเรียนโรงเรียนมัธยมในเชียงใหม่ โดยอาศัยอยู่ hostel ของลาหู่ ที่ได้เงินสนับสนุนจาก International Ministries of The American Baptist Churches USA ส่วนเด็กอาข่าได้รับการศึกษาจากการสนับสนุนของ The Hill Tribes Forward Fund ที่เข้าไปสร้างโรงเรียนตามหมู่บ้านอาข่า นอกจากนี้ได้รับการสนับสนุนจาก International Ministries of The American Baptist Churches USA และ Howard and Bush Foundation | เอกสาร บทความ

5. รหัส : H-1-2-6

รายงานการสำรวจภาคสนามภาคเหนือของประเทศไทย

| รายงานการสำรวจภาคสนามภาคเหนือของประเทศไทย โดย Lucien และ Jane Hanks วันที่ 8-31 สิงหาคม 1963 การสำรวจครั้งนี้เพื่อเลือกพื้นที่ที่จะเข้าไปทำวิจัย รวมถึงเก็บข้อมูลเบื้องต้นเพื่อวางแผนงานวิจัย การสำรวจครั้งนี้ได้ไปที่นิคมเชียงดาว เมืองพร้าว แม่จัน ตาก (ดอยมูเซอ) แพร่ น่าน | เอกสาร บทความ

6. รหัส : H-1-1-10

โครงการสำรวจทางมานุษยวิทยาบนพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| การสำรวจชาวเขาบนพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลสำหรับศาสตร์ทางมานุษยวิทยา ซึ่งข้อมูลนี้อาจจะเป็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐบาลแห่งชาติกับสวัสดิการสังคมที่รัฐมีให้กับคนกลุ่มนี้ ที่สนใจเลือกพื้นที่สูงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีคนรู้จักคนกลุ่มนี้ไม่มาก ประเด็นที่ศึกษาคือคนกลุ่มนี้มีการซึมซับความเป็นชาติของประเทศที่ตนอาศัยอย่างไร และมีการคงไว้ซึ่งชีวิตความเป็นชาวเขาของตนอย่างไร ความคิดที่จะย้ายถิ่นฐาน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของชาวเขาในปัจจุบันสามารถสะท้อนความเคลื่อนไหวในอดีตของพวกเขาได้หรือไม่ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นคำตอบที่น่าสนใจสำหรับศาสตร์ทางมานุษยวิทยาและรัฐบาลแห่งชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | เอกสาร บทความ

7. รหัส : H-1-1-11

โครงร่างงานวิจัยสำหรับการสำรวจพื้นที่เชิงเขาของจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย ปี 1974

| การสำรวจนี้เป็นการสำรวจที่สืบเนื่องมาจากการเก็บข้อมูลพื้นฐานทางชาติพันธุ์ในประเด็นต่างๆ ของหมู่บ้านในพื้นที่สูงของแม่กก แถบภาคเหนือของประเทศไทย ในปี 1964 และ 1969 โดยการสำรวจในครั้งนี้ต้องการที่จะเปรียบเทียบข้อมูลกับการสำรวจในปี 1964 และ 1969 เพื่อหาความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน สิ่งที่ต้องการค้นหาคือ การเพิ่มของจำนวนประชากร จำนวนของหมู่บ้าน ความเคลื่อนไหวของหมู่บ้าน การสูญเสียพื้นที่ป่า และการติดต่อกับคนไทยและเจ้าหน้าที่รัฐ | เอกสาร บทความ

8. รหัส : H-1-2-2

ความเปลี่ยนแปลงของเมืองอันหวาง (Anwang)

| บทความโดย George Orick ตีพิมพ์ลงในรายงานของมูลนิธิฟอร์ด (The Ford Foundation) ปีที่ 23 ฉบับที่ 4 ปี 1992 กล่าวถึงเมืองอันหวาง มลฑลยูนาน ประเทศจีน พื้นที่ 94%ของเมืองเป็นภูเขา เป็นเขตของรัฐบาลจีนและได้รับการสนับสนุนจากมูลินิธิฟอร์ด รัฐเข้าไปเปลี่ยนแปลงพื้นที่ห่างไกลที่มีการดำรงชีพมาแต่ช้านานด้วยการทำเกษตรกรรม รัฐบาลเรียกสิ่งนี้ว่า “การบรรเทาความยากจน” ตอนนี้ชาวบ้านมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น อันหวางก่อตั้งขึ้นจากชนกลุ่มน้อยที่ถูกผลักดันมาจากดินแดนชายขอบจากการขยายตัวของชาวฮั่น ชาวบ้านเริ่มคิดถึงการนำสินค้าออกไปค้าขายนอกหมู่บ้าน แต่ยังติดเรื่องการศึกษาและอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกล แม้จะมีถนนใช้แล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ ความเปลี่ยนแปลงที่อันหวางมาจากการยกเลิกระบบคอมมิวนิสต์ในปี 1982 และแทนที่ด้วยฝ่ายปกครองแบบชุมชนเล็กๆ และดูแลด้วยการตั้งสิ่งที่เรียกว่า “ระบบความรับผิดชอบ” | เอกสาร บทความ

9. รหัส : H-1-1-13

รายงานเบื้องต้นเรื่อง ชาวบ้านในพื้นที่สูงจากหุบเขาแถบแม่กก ชายแดนพม่า

| รายงานฉบับนี้เป็นรายงานเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลโดย เบนนิงตัน-คอแนล การสำรวจชาวเขา ในระหว่างเดือนธันวาคม ปี 1973 ถึงพฤษภาคม ปี 1974 หลักๆ ที่แถบจังหวัดเชียงราย รวมถึงพื้นที่เล็กๆในอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มสำรวจเบนนิงตัน-คอแนล ยังได้เก็บข้อมูลในพื้นที่เดียวกันนี้ในปี 1964 และ 1969 เช่นกัน รายงานให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสำรวจทั่วไป จำนวนของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่ในปี 1964 1969 และ 1974 รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ | เอกสาร บทความ

10. รหัส : H-1-1-12

แบบสอบถามสำรวจหมู่บ้าน

| เก็บข้อมูลชื่อหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ความผูกพันกับชาวเขากลุ่มอื่น ประวัติการตั้งถิ่นฐานจากอดีตสู่ปัจจุบัน กลุ่มของชาติพันธุ์ต่างๆในหมู่บ้าน ข้อมูลของประชากรแต่ละครัวเรือน การปลูกข้าว ทรัพย์สินที่ถือครอง รายรับรายจ่าย การจ้างงาน ความสัมพันธ์กับหมู่บ้านอื่น การติดต่อกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ลักษณะพิเศษของหมู่บ้าน | เอกสาร บทความ