หนังสือ

ขอบเขตและเนื้อหา :

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : หนังสือ 10 เล่ม

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย เจน ริชาร์ด แฮงส์, ปี พ.ศ. 2550

การจัดเรียงเอกสาร : แฟ้มเอกสารจำแนกตามประเภทเอกสาร

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : เอกสารชุดนี้มีข้อจำกัดในการเข้าใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความเคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดูเอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

1. รหัส : H-1-2-11

96 ฝน หลวงประสิทธิกลมัย

| หนังสือที่ระลึกเนื่องในโอกาสฉลองอายุครบ 8 รอบ หลวงประสิทธิกลมัย 22 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | หนังสือ

2. รหัส : H-1-5-2

Code Pour La Paix Mondiale

| หนังสือภาษาฝรั่งเศส “Code Pour La Paix Mondiale” โดย Par Galle Anurudda Thera | หนังสือ

3. รหัส : H-1-5-4

ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี

| หนังสือ “ศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยความร่วมมือขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ด้านหน้าเป็นภาษาไทย ด้านหลังเป็นฉบับแปลภาษาอังกฤษ | หนังสือ

4. รหัส : H-1-5-5

บัญชีประเทศและประชากรแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| เอกสารภาษาเยอรมัน “Hinterindien länder und völker” บัญชีประเทศและประชากรแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย Hans Manndorff | หนังสือ

5. รหัส : H-1-4-27

พระราชวังของ Surakarta Hadiningrat

| 1974 – อาณาจักร Mojopahit เป็นที่รู้จักอย่างมากของอินโดนีเซีย ผู้สืบตระกูลได้ย้ายเมืองหลวงจากชวาตะวันออกไปอยู่ที่ชวากลาง จากนั้นจึงย้ายไปที่ Kartasura และท้ายที่สุดย้ายไปที่ Surakarta Hadiningrat หนังสือนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจของ Surakarta Hadiningrat | หนังสือ

6. รหัส : H-1-6-1

หมู่บ้านปลูกข้าวในสยาม

| รายงานเบื้องต้นการวิจัยที่บางชัน ปี 1948-1949 โดย Lauriston Sharp, Hazel M. Hauck, Kamol Janlekha และ Robert B. Textor มหาวิทยาลัยคอแนล หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการวางแผนเข้าไปทำวิจัยที่บางชัน การใช้อักขระและออกเสียงในรายงาน คำศัพท์ที่ใช้ ระบบเงินตรา เรื่องที่รายงานเบื้องต้นมี 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ ชุมชนบางชัน; สภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประชากร การจัดการทางสังคม รัฐบาลท้องถิ่น วัด โรงเรียน ส่วนที่สองคือเศรษฐกิจและเทคโนโลยีของหมู่บ้าน; โครงสร้างของการประกอบอาชีพ การทำนา การดูแลควาย กระบวนการผลิต ที่ดิน การค้าข้าว การทำเกษตรกรรมอื่นๆ การเลี้ยงสัตว์ รายได้ งานศิลปะหัตถกรรม รูปแบบการบริโภค การทำบุญและให้ของขวัญ การให้สินเชื่อ การสะสมทุนของท้องถิ่น และส่วนที่สามคือสุขภาพและการควบคุมอาหาร; ศาสนาและสุขภาพ แพทย์และการใช้ยาพื้นบ้าน วิธีการรักษาแบบพื้นบ้าน ยาสมัยใหม่ สุขอนามัย ยา เครื่องดื่ม และสิ่งกระตุ้น อาหารและทัศนคติต่อาหาร ปัญหาจากการแก้ไขภาวะควบคุมอาหาร | หนังสือ

7. รหัส : H-1-6-2

บางชัน : ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนชนบทในประเทศไทย

| ปี 1978 – Lauriston Sharp และ Lucien M Hanks ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางวัฒนธรรมของชุมชนชานเมืองกรุงเทพฯ คือบางชัน โดยศึกษาความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นในเรื่ององค์กรทางสังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา ศาสนา เป็นต้น ที่เกิดขึ้นภายใต้บริบทของการพัฒนาท้องถิ่นและรัฐชาติ ในหนังสือได้บรรยายให้เห็นภาพประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านในหลายๆช่วงเวลา อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารประเทศจากส่วนกลางในปี 1890 และภาวะขาดแคลนข้าวหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งเปลี่ยนการทำอาชีพของคนในหมู่บ้านจากหาปลาไปสู่การปลูกข้าว | หนังสือ

9. รหัส : H-1-6-4

ข้าวกับมนุษย์ : นิเวศวิทยาทางการเกษตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ปี 1972 – Lucien Hanks ได้แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และธรรมชาติของการทำเกษตรกรรม ความสามารถในการปรับตัว และความต้องการทางด้านสังคมและพลังงานที่มีความจำเป็นต่อการผลิต นอกจากนี้แฮงส์ยังได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงการผลิตข้าวและผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ตลอด 120 ปี ของชาวบางชัน ชุมชนที่มีประชากรประมาณ 1700 คน อยู่ห่างจากกรุงเทพไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 22 ไมล์ | หนังสือ

10. รหัส : H-1-6-5

Crossroads : วารสารสหวิทยาการเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

| ปี 1992 – ปีที่ 7 เล่มที่ 1 เพื่อระลึกถึงการทำงานของลูเชียนและเจน แฮงส์ | หนังสือ