ขั้นตอนการสืบสวนของตำรวจ

19 ธ.ค. 1968 ตามความเห็นของนายตำรวจซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการณ์ผู้อำนวยการกองปราบปราม ข้อบกพร่องสำคัญในคดีสืบสวนของตำรวจไทย คือ การขาดพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ขณะที่ผู้ต้องหาก่อคดี เนื่องจากหลักฐานที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงทำให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากข้อกล่าวหาเสมอๆ

สัมภาษณ์เสมียนประจำสถานีตำรวจ จ.เชียงใหม่

14 ม.ค. เสมียนให้ข้อมูลว่า สถิติการเกิดอาชญากรรมสูงขึ้นทุกปีเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และความสามารถในการทำงานตำรวจที่จับคนร้ายได้ คนท้องถิ่นส่วนใหญ่จะกลัวตำรวจ บางคดีที่เกิดขึ้นผู้ต้องหาเป็นคนมาจากต่างถิ่น

การทำงานของตำรวจ

ต้นเดือน พ.ค. ตามความเห็นของธานินทร์ ตำรวจไทยยังขาดความสำนึกในหน้าที่ซึ่งมีผลให้กระบวนการยุติธรรมของไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

สัมภาษณ์ร้อยตำรวจเจริญ

14 ม.ค. มอร์แมนสัมภาษณ์ร้อยตำรวจเจริญ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) บรรดาชาวเขาและคนต่างจังหวัดต่างมองตำรวจว่าเป็นศัตรู เพราะตำรวจเขาไปเก็บภาษีและชอบใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ การกระทำของตำรวจเปิดโอกาสให้คอมมิวนิสต์เข้าไปยุยงชาวบ้านให้ต่อต้านรัฐบาล 2) ตำรวจที่ดีต้องเป็นมิตรกับประชาชนและเป็นคนพูดเก่ง เพื่อที่จะได้คอยเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต่างๆ 3) การปฏิบัติตนของตำรวจกับพยานซึ่งต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เพื่อที่พยานจะได้ยอมมาเป็นพยานให้

หลักฐานประกอบการพิจารณาคดี

20 มี.ค. ผู้กอง สภ.อ.สารภีให้ข้อมูลว่า พบข้อพิรุธ 2 ประการในคดีพ่อยิงลูกชาย คือ 1) พ่อให้การว่าลูกชายถือมีดในมือซ้าย ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วเขาเป็นคนถนัดขวา 2) รอยกระสุนทะลุออกมาเป็นวงกว้างเกินไป จำเป็นต้องส่งหลักฐานในส่วนนี้ไปพิสูจน์ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และเป็นครั้งแรกที่ผู้กองต้องใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประกอบสำนวนคดี เนื่องจาก คดีที่เกิดขึ้นตามต่างจังหวัดส่วนใหญ่แล้วจะอาศัยหลักฐานที่เป็นพยานบุคคล

สัมภาษณ์หัวหน้ากองวิทยาศาสตร์สอบสวน

16 มิ.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์หัวหน้ากองวิทยาศาสตร์สอบสวน (ปัจจุบัน คือ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ-ข้อมูลโดยผู้แปล) มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) มอร์แมนขอทำสำเนาคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเขตภาคเหนือ 2) ความแตกต่างของการใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ประกอบการพิจารณาคดีระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ศาลไทยจะให้ความสำคัญกับหลักฐานที่เป็นคำให้การและใช้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนประกอบเท่านั้น 3) การใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญเฉพาะและมีความสามารถในการอธิบายข้อพิสูจน์ที่ได้จากหลักฐานเหล่านี้ให้ศาลเข้าใจ 4) ในการพิจารณาคดี หากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ให้โทษแก่จำเลยศาลจะให้ความเชื่อถือน้อยกว่าแต่ให้ประโยชน์กับจำเลยศาลจะให้ความเชื่อถือมากกว่า 5) ลำดับขั้นตอนการทำงานของกองวิทยาศาสตร์สอบสวนทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง

สัมภาษณ์รักษาการณ์ผู้กำกับการตำรวจภูธรภาคเหนือ

16 มิ.ย. 1969 มอร์แมนสัมภาษณ์รักษาการณ์ผู้กำกับการตำรวจภูธรภาคเหนือ มีหัวข้อต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น 1) สถานการณ์การต่อสู้บนภูเขา (?) ซึ่งมีตำรวจเสียชีวิตไปแล้ว 2 นาย 2) เนื่องจากกรมตำรวจเป็นองค์กรใหญ่จึงมีทั้งตำรวจที่ดีและตำรวจที่ไม่ดีปะปนกันไป แต่ตำรวจที่ดีก็มีจำนวนมากกว่าและกรมตำรวจกำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุง 3) ทุกๆ ปี จะมีจเรตำรวจจากกรมตำรวจมาตรวจสอบการทำงานของตำรวจในท้องที่ 4) ขั้นตอนในการส่งคำร้องทุกข์ของผู้กล่าวหา 5) แม้ว่าในทางปฏิบัติขั้นตอนการสืบสวนและการส่งเรื่องฟ้องศาลจะมีระเบียบแบบแผนที่แน่นอน แต่ตำรวจที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการทำงานสามารถที่จะหาช่องทางในการรับสินบนได้ 6) หน่วยจู่โจมพิเศษของกรมตำรวจถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกำลังเสริมในกรณีที่ตำรวจท้องที่ไม่สามารถรับมือกับสถานการณ์รุนแรงได้ (การต่อสู้กับชาวแม้วบนภูเขา)

ความก้าวหน้าในอาชีพตำรวจ

10 มิ.ย. 1969 กรมตำรวจวางแผนที่จะส่งตำรวจไปทำการทดสอบภาษาอังกฤษที่กรุงเทพฯ คนที่สอบผ่านจะถูกส่งไปดูงานที่สหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 6 เดือน

สัมภาษณ์ผู้กำกับการตำรวจ จ.น่าน

18 มิ.ย. 1969 อ.ทุ่งช้าง (?) จ.น่าน เป็นเขตชายแดนที่สำคัญและอันตราย ดังนั้น ตำรวจ ศาล และอัยการควรร่วมมือกันทำงาน