ควายกับเสือ นิทานในสังคมเกษตรกรรม

[สำเนาบทความ] บทความตีพิมพ์ในวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ปี่ที่ 3 เล่มที่ 3 (ธันวาคม 2529) นิทานที่เกี่ยวข้องกับควายในสังคมแถบเอเชียอันเป็นสังคมเกษตรกรรม แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสัตว์ประภทนี้กับวิถีชีวิตของคนในชุมชนเจ้าของนิทาน

เทศกาลร้องเพลงชาวจ้วงที่อู่หมิง

[สำเนาสองฉบับ] บทความตีพิมพ์ใน เมืองโบราณ ปีที่ 13 เล่มที่ 3 โดยบันทึกการชมเทศกาลร้องเพลงของชาวจ้วงที่อู่หมิง ซึ่งสะท้อนความสำคัญของเพลงและการขับร้อง ในชีวิตประจำวัน เช่น ระหว่างการเพาะปลูก และเทศกาลประจำปี บทความใช้ข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความของนักวิชาการจี

บทวิทยุ

[2 ฉบับ] บทวิทยุกล่าวถึงการทำงานในกวางสี เมษายน 2531 ใน 5 อำเภอ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับนิทานชนชาติจ้วง ที่แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นิทานเทพปกรณัมเกี่ยวกับผู้สร้างสิ่งต่าง ๆ , นิทานตำนานเกี่ยวกับสถานทีและวีรบุรุษ, นิทานปรัมปราที่สะท้อนวิถีชีวิตและสนุกสนาน แล

เทศกาลร้องเพลงชาวจ้วงที่อู่หมิง [ภาษาอังกฤษ]

บทความกล่าวถึงเทศกาลร้องเพลงในเมืองอู่หมิง เนื้อหากล่าวถึงสภาพของบรรยากาศ ลำดับเทศกาล เนื้อหาของเพลง และความสนุกสนานของผู้ที่เข้าร่วมงานเทศกาล

รวมบทความเกี่ยวกับความสัมพันธ์จ้วงกับไทย [ภาษาอังกฤษ]

หนังสือจากกงานวิจัยชนชาติจ้วงในกวางสีครอบคลุมการศึกษาทางภาษาศาสตร์ ได้แก่ การจัดประเภท คำเรียกเครือญาติ คำเรียกสี คำประสม หน่วยคำ และมิติทางวัฒนธรรม ได้แก่ เพลงพื้นบ้าน และนิทานพื้นบ้าน ซึ่งบทความต่าง ๆ เคยนำเสนอในเวทีประชุมนานาชาติวาระต่าง ๆ

จ้วง : ชนชาติไทในสาธารณรัฐประชาชนจีน ภาคที่ 1 ภาษา และภาคที่ 2 วัฒนธรรม

ภาค 1 ภาษา ประกอบด้วยบทความ 6 เรื่อง จากการศึกษาภาษาจ้วงและเอกสารและการทำงานภาคสนาม เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะทางภาษาของจ้วงต่าง ๆ เช่น ภาษาจ้วงเต๋อเป่า ภาษาจ้วงตูอาน เป็นต้น ภาค 2 วัฒนธรรม ประกอบด้วยบทความ 8 เรื่อง โดยนักวิชาการไทยและจีน กล่าวถึงความเป็นมา

คำเรียกสีและการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย

งานวิจัยมุ่งวิเคราะห์คำเรียกสีในภาษาจ้วงและภาษาไทย แล้วนำมาเปรียบเทียบ เพื่อสรุปความเหมือนและความต่างในเรื่องการจำแนกสีพื้นฐาน และการรับรู้สีของชาวจ้วงและชาวไทย

ชื่อหมู่บ้านในมณฑลกวางสีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

วัตถุประสงค์ของงานต้องการศึกษาชื่อหมู่บ้านจ้วงในเขตมณฑลกวางสีและการตั้งชื่อ และความสัมพันธ์กับภูมิประเทศ และศึกษาเปรียบเทียบกับชื่อและการตั้งชื่อหมู่บ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ลักษณนามในภาษาจ้วง

การศึกษาลักษณนามในภาษาจ้วงถิ่นต่าง ๆ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของภาษาถิ่น อิทธิพลของภาษาจีน และความเชื่อมโยงกับภาษาไทย