81. รหัส : H-1-4-31

ยวนหรือไทยเหนือ

| ปี 1983 – ยวนบอกว่าตนเองเป็นคนไทยเหนือ (คนเมือง) แต่เป็นคนไทยที่แตกต่างจากคนไทยที่อยู่ที่อื่นๆ ของประเทศ และต่างจากคนที่อยู่ในรัฐฉาน ลื้อ และลาว | เอกสาร บทความ

82. รหัส : H-1-4-33

คนพิการในสังคมที่ไม่ใช่ชาวตะวันตก

| ปี 1948 - การดูแลคนพิการและการมีส่วนร่วมในสังคมของคนพิการจะมีมากขึ้นในสังคมที่ 1.ประชากรและและการกระจายความช่วยเหลือมีความเท่าเทียมกัน 2.การแข่งขันเรื่องความสำเร็จส่วนบุคคลหรือกลุ่มมีน้อยลง และ 3.เกณฑ์ในการประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของชนชั้นทางสงัคม แต่เกี่ยวกับความสามารถส่วนบุคคลในโครงสร้างทางสังคมแบบประชาธิปไตย | เอกสาร บทความ

83. รหัส : H-1-4-34

การเป็นนักท่องเที่ยวท่ามกลางคนท้องถิ่น

| ปี 1970 – บทความ “Travelers among people” โดยลูเชียนและเจน แฮงส์ เพื่อระลึกถึงพระยาอนุมานราชธน เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของพระยาอนุมานราชธนเมื่อครั้งไปอยู่ที่อเมริกา ที่ต้องเผชิญกับความแตกต่างของผู้คน วัฒนธรรม และความรู้สึกโดดเดี่ยว | เอกสาร บทความ

84. รหัส : H-1-4-35

การแข่งเรือ

| ปี 1973 – บทวิจารณ์บทความ “La Course de Pirogues au Laos : un Complexe Cultural” ของ Charles Archaimbault ลงวารสารของสยามสมาคม กรกฎาคม 1973 ซึ่งกล่าวถึงประเพณีการแข่งเรือบริเวณแม่น้ำโขงของประเทศลาว | เอกสาร บทความ

85. รหัส : H-1-4-36

การประชุมองค์กรทางสังคมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงต้นศตวรรษที่ 18

| ปี 1984 - บทนำการประชุมองค์กรทางสังคมในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงต้นศตวรรษที่ 18 โดย ลูเชียน แฮงส์ ลงในวารสารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ปีที่ 15 เล่มที่ 2 ปี 1984 | เอกสาร บทความ

86. รหัส : H-1-4-37

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบในชุมชนคนไทย

| ปี 1955 – การศึกษาปัญหาโรคระบาด(คอตีบ) ในชุมชนบางชัน ปฏิกริยาของชาวบ้านที่มีต่อการฉีดวัคซีนป้องกันโรค การวางแผนและจัดโครงการรณรงค์เพื่อไม่ให้เกิดโรค ทัศนคติของชาวชุมชนบางชันที่มีต่อโรค รวมถึงปัจจัยที่มีต่อประสิทธิผลในการสื่อสารเรื่องการฉีดวัคซีน | เอกสาร บทความ

87. รหัส : H-1-4-39

ผู้หญิงและความอุดมสมบูรณ์

| คนไทยเชื่อว่าในแม่น้ำ ดิน หรือนาข้าวมีเทพีเป็นผู้ปกปักษ์รักษา เนื่องจากเพศแม่เป็นผู้ให้ชีวิตและเลี้ยงดูให้ทุกชีวิตมีความอุดมสมบูรณ์ และความอุดมสมบูรณ์จะนำมาซึ่งพลัง ผู้ชายจะทำงานเพื่อหารายได้มาเลี้ยงครอบครัว แต่ผู้หญิจะทำหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน ในยุคหินไทยมีความโน้มเอียงไปทางสายของแม่มากกว่า แต่ต่อมาได้รับอิทธิพลจากอินเดียและจีนที่โน้มเอียงไปทางสายบิดา พุทธศาสนาและพราหมณ์ก็มีความโน้มเอียงไปทางฝ่ายผู้ชาย ในแวดวงการเมืองก็สะท้อนให้เห็นถึงความโน้มเอียงไปทางผู้ชาย | เอกสาร บทความ

88. รหัส : H-1-4-40

พิธีกรรมและจักรวาล : บันทึกของอาข่า

| ปี 1968 – บันทึกจากประสบการณ์ของ เจน แฮงส์ เมื่อครั้งลงไปศึกษาชาวเขาเผ่าอาข่าที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ปี 1963-64 เจนพบว่าวัฒนธรรมเก่าของชาวอาข่ายังคงทำหน้าที่และเป็นสิ่งสำคัญอยู่ ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากอิทธิพลของรัฐบาลไทย การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมและการเมืองของโลกสมัยใหม่ ทั้งจากเอเชียและตะวันตก | เอกสาร บทความ

89. รหัส : H-1-4-41

การแต่งงานของชาวอาข่า

| ปี 1969 – ขั้นตอนการแต่งงานของชาวอาข่า พิธีกรรมและผู้ประกอบพิธีกรรม การแต่งกายของเจ้าสาว งานเลี้ยง และอาหาร | เอกสาร บทความ

90. รหัส : H-1-4-42

ชาวเขาในจังหวัดเชียงราย : ความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลง

| ปี 1981 – ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยพื้นราบกับชาวเขาเปลี่ยนจากความพันธ์แบบคู่ขนานไปสู่การผสมผสานกันมากขึ้น เจน แฮงส์ ได้ชี้ให้เห็นถึงวิถีทางของการเปลี่ยนแปลงนี้ | เอกสาร บทความ