71. รหัส : H-1-4-17

การไล่ล่ายาเสพติด

| ปี 1975 – สหรัฐอเมริกาประกาศสงครามกับยาเสพติด โดยพยายามให้ทุนสนับสนุนรัฐบาล เช่น ตุรกี ในการต่อต้านการปลูกฝิ่น กลุ่มผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือกลุ่มกบฎในรัฐฉานของประเทศพม่า สหรัฐอเมริกาพยายามที่จะเข้ามาปราบปรามการค้ายาเสพติดในแถบภูมิภาคนี้เช่นกัน | เอกสาร บทความ

73. รหัส : H-1-4-19

คำให้การต่อคณะอนุกรรมการสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเสพติดสากล

| วันที่ 18 เมษายน 1975 – รัฐฉานได้พยายามแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลทหารพม่า พวกเขาค้าฝิ่นและอาวุธเพื่อเลี้ยงตนเอง การโอนเงินก้อนใหญ่จากกองทุนของอมเริกาไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากเสียงสะท้อนจากนานาชาติ เงินที่เสนอให้นั้นไม่ได้ให้เพื่อการทำลายหรือเพื่อควบคุมการปลูกฝิ่นของรัฐฉาน | เอกสาร บทความ

74. รหัส : H-1-4-20

การทุจริตและการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ปี 1971 – บทความ “Corruption and Commerce in Southeast Asia” ตีพิมพ์ลงในหนังสือ Transaction : Social Science and Modern Society กล่าวถึงการทุจริตและการค้าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | เอกสาร บทความ

75. รหัส : H-1-4-21

สมาคมและลูกน้อง

| ปี 1966 –ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างองค์กรทางสังคมของไทยและอเมริกา : รูปแบบขององค์กร กลุ่มลูกน้องและการก่อตัว กลุ่มลูกน้องในสภาพแวดล้อมแบบอุตสาหกรรม | เอกสาร บทความ

76. รหัส : H-1-4-22

ประเทศไทย : ความเสมอภาคระหว่างเพศ

| ปี 1963 - อธิบายถึงลักษณะครอบครัวของชนบท การทำหน้าที่ในแต่ละวันของสมาชิกในครอบครัวชาวนา เปรียบเทียบกับครอบครัวของสังคมเมือง ความคล้ายคลึงกันของเพศชายและเพศหญิง ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทของแต่ละเพศด้านขนบธรรมเนียมปฏิบัติ และบทบาทของแต่ละเพศในสมัยใหม่ | เอกสาร บทความ

77. รหัส : H-1-4-23

การเฉยเมยต่อการศึกษาสมัยใหม่ในชุมชนชาวนาไทย

| ปี 1959 – บทความตีพิมพ์ลงใน Human Organization ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พูดถึงเรื่องการศึกษาของชุมชนชาวนาที่บางชัน โดยอธิบายเกี่ยวกับการศึกษาทั่วๆไป และการศึกษาภาคบังคับที่ที่ชาวบางชันต้องพบตามประกาศของรัฐบาลกลาง การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างรัฐบาล ครู ชาวนา และนักเรียน และสุดท้ายปฏิกริยาของชาวนาที่มีต่อนโยบายด้านการศึกษา รวมถึงอธิบายถึงการเพิกเฉยต่อการศึกษาของชาวนาไทย | เอกสาร บทความ

78. รหัส : H-1-4-24

การช่วยเหลือจากอเมริกาเป็นการทำลายสังคมไทย

| ปี 1968 – การเข้ามาตั้งฐานทัพของทหารอเมริกันในประเทศไทยเพื่อต่อสู้กับกองโจรและกลุ่มเวียดนามเหนือ การเข้ามาครั้งนี้อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยด้านการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งการเข้ามาช่วยเหลือนี้ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาวะสมดุลทางสังคมของประเทศไทย | เอกสาร บทความ

79. รหัส : H-1-4-26

รูปแบบของการติดต่อกับชาวต่างชาติ

| บทความโดย ลูเชียน แฮงส์ จากการประชุมประจำปีเกี่ยวกับชุมชนทางชาติพันธุ์ของอเมริกัน ปี 1957 แฮงส์พูดถึงการติดต่อกับชาวต่างชาติของประเทศไทย เปรียบเทียบในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 19 มีการติดต่อด้านการค้าและการทหาร การติดต่อกันของสังคมสองสังคมเกิดจากการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เมื่อจุดประสงค์ของการแลกเปลี่ยนไม่ใช่เพียงแค่แลกเปลี่ยนสมบัติส่วนตัวของสถาบันแบบที่เคยเป็นมา รูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบใหม่จึงเกิดขึ้น | เอกสาร บทความ

80. รหัส : H-1-4-30

คุณความดีและอำนาจในระดับชั้นทางสังคมของไทย

| ปี 1962 – บทความโดยลูเชียน แฮงส์ กล่าวถึงทัศนคติของบุคคลที่มีอยู่ในสถานะที่ตายตัวตามลำดับชั้นทางสังคม โดยแฮงส์จะมุ่งวิเคราะห์ไปที่การเคลื่อนไหวของบุคคลภายในสถานะที่ตายตัวเหล่านี้ สำหรับชาวพุทธการที่บุคคลมีระดับชั้นแตกต่างกันหรือการที่คนอยู่คนระดับกับสัตว์ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า “บุญ-ความดี” หรือ “บาป” อำนาจมาจากประสบการณ์หรือความสามารถพิเศษ หรือการมีเครื่องรางของขลัง อำนาจอาจเป็นของใครก็ได้ แต่ผลสำเร็จนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีบุญ | เอกสาร บทความ