61. รหัส : SK-1-2-3-05

บทวิทยุ

| [2 ฉบับ] บทวิทยุกล่าวถึงการทำงานในกวางสี เมษายน 2531 ใน 5 อำเภอ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับนิทานชนชาติจ้วง ที่แบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ นิทานเทพปกรณัมเกี่ยวกับผู้สร้างสิ่งต่าง ๆ , นิทานตำนานเกี่ยวกับสถานทีและวีรบุรุษ, นิทานปรัมปราที่สะท้อนวิถีชีวิตและสนุกสนาน แล | เอกสาร บทความ

62. รหัส : SK-1-2-3-06

เทศกาลร้องเพลงชาวจ้วงที่อู่หมิง [ภาษาอังกฤษ]

| บทความกล่าวถึงเทศกาลร้องเพลงในเมืองอู่หมิง เนื้อหากล่าวถึงสภาพของบรรยากาศ ลำดับเทศกาล เนื้อหาของเพลง และความสนุกสนานของผู้ที่เข้าร่วมงานเทศกาล | เอกสาร บทความ

63. รหัส : SK-2-1-01

เพลงและการละเล่นพื้นบ้านของชาวเขาเผ่าเย้า

| พ.ศ. 2531 | การวิเคราะห์เพลงและการละเล่นพื้นบ้านของชาวเย้า ซึ่งใช้ในงานเทศกาลและงานฉลองต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นความสำคัญของเพลงและการละเล่นต่อสังคมเย้า | เอกสาร บทความ

64. รหัส : SK-2-1-02

ดัชนีอนุภาคนิทานพื้นบ้านไทย- รายการประเภทนิทาน- ดัชนีอุนภาควรรณกรรมพื้นบ้าน

| พ.ศ. 2531 | เอกสารสำเนาจากแหล่งที่มาต่าง ๆ เพื่อประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับดัชนีอนุภาคในการวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านไทย และเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์วรรณกรรมพื้นบ้าน | เอกสาร บทความ

65. รหัส : SK-2-1-03

ภาษาและอักษรของชนชาติเย้า

| พ.ศ. 2531 | เนื้อหาเกี่ยวข้องกับสถานภาพของภาษาเย้า ภาษาเขียนและตัวอักษร โดยระบบตัวอักษรใช้ตัวอักษรลาตินในการถ่ายทอดเสียงพูด | เอกสาร บทความ

66. รหัส : SK-2-1-04

เส้นทางอพยพของชนชาติเย้า

| พ.ศ. 2531 | กล่าวถึงบรรพชนและการอพยพของชาวเย้า โดยอาศัยหลักฐานหลายลักษณะ เช่น บันทึกของตระกูล หนังสือวิชาการทางประวัติศาสตร์ และบทเพลงของชาวเย้า | เอกสาร บทความ

67. รหัส : SK-2-1-05

คำกลอน

| พ.ศ. 2531 | คำกลอนเย้าสามบท วิทยากรจากบ้านห้วยสะนาม ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยบันทึกเนื้อหา ชนิดคำกลอน และโอกาสในการใช้ | เอกสาร บทความ

68. รหัส : SK-2-1-06

แผนที่ประเทศไทย

| พ.ศ. 2514 | สำเนาแผนที่ประเทศไทย ที่เขียนโดยทองใบ แตงน้อย ระบุปีในการเขียนเมื่อ พ.ศ. 2514 | เอกสาร บทความ

69. รหัส : SK-2-1-07

ถ่ายเสียงภาษาเย้าด้วยสัทอักษรสากลและสัทอักษรไทย

| พ.ศ. 2514 | การถ่ายทอดเสียงภาษาเย้าด้วยสัทอักษรสากลและสัทอักษรไทย โดยยกตัวอย่างประโยค เกี่ยวกับการแสดงความขอบคุณ | เอกสาร บทความ

70. รหัส : SK-2-1-08

ชาวเขาเผ่าเย้า

| พ.ศ. 2529 | เอกสารของนักวิชาการสถาบันวิจัยชาวเขา กรมประชาสงเคราะห์ (13 กุมภาพันธ์ 2529) กล่าวถึงความเป็นมาชนชาติเย้าในประวัติศาสตร์ของจีน เส้นทางการเคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทย การตั้งถิ่นฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ พิธีกรรมและเทศกาล โดยเรียบเรียงจากเอกสารในภาษาไทยและภาษาอั | เอกสาร บทความ