82. รหัส : H-1-4-19

คำให้การต่อคณะอนุกรรมการสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับการควบคุมสิ่งเสพติดสากล

| วันที่ 18 เมษายน 1975 – รัฐฉานได้พยายามแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระไม่ขึ้นตรงกับรัฐบาลทหารพม่า พวกเขาค้าฝิ่นและอาวุธเพื่อเลี้ยงตนเอง การโอนเงินก้อนใหญ่จากกองทุนของอมเริกาไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากเสียงสะท้อนจากนานาชาติ เงินที่เสนอให้นั้นไม่ได้ให้เพื่อการทำลายหรือเพื่อควบคุมการปลูกฝิ่นของรัฐฉาน | เอกสาร บทความ

83. รหัส : H-1-4-20

การทุจริตและการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

| ปี 1971 – บทความ “Corruption and Commerce in Southeast Asia” ตีพิมพ์ลงในหนังสือ Transaction : Social Science and Modern Society กล่าวถึงการทุจริตและการค้าในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ | เอกสาร บทความ

84. รหัส : H-1-4-21

สมาคมและลูกน้อง

| ปี 1966 –ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างองค์กรทางสังคมของไทยและอเมริกา : รูปแบบขององค์กร กลุ่มลูกน้องและการก่อตัว กลุ่มลูกน้องในสภาพแวดล้อมแบบอุตสาหกรรม | เอกสาร บทความ

85. รหัส : H-1-4-22

ประเทศไทย : ความเสมอภาคระหว่างเพศ

| ปี 1963 - อธิบายถึงลักษณะครอบครัวของชนบท การทำหน้าที่ในแต่ละวันของสมาชิกในครอบครัวชาวนา เปรียบเทียบกับครอบครัวของสังคมเมือง ความคล้ายคลึงกันของเพศชายและเพศหญิง ความแตกต่างทางด้านขนบธรรมเนียมประเพณี บทบาทของแต่ละเพศด้านขนบธรรมเนียมปฏิบัติ และบทบาทของแต่ละเพศในสมัยใหม่ | เอกสาร บทความ

86. รหัส : H-1-4-23

การเฉยเมยต่อการศึกษาสมัยใหม่ในชุมชนชาวนาไทย

| ปี 1959 – บทความตีพิมพ์ลงใน Human Organization ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 พูดถึงเรื่องการศึกษาของชุมชนชาวนาที่บางชัน โดยอธิบายเกี่ยวกับการศึกษาทั่วๆไป และการศึกษาภาคบังคับที่ที่ชาวบางชันต้องพบตามประกาศของรัฐบาลกลาง การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างรัฐบาล ครู ชาวนา และนักเรียน และสุดท้ายปฏิกริยาของชาวนาที่มีต่อนโยบายด้านการศึกษา รวมถึงอธิบายถึงการเพิกเฉยต่อการศึกษาของชาวนาไทย | เอกสาร บทความ

87. รหัส : H-1-4-24

การช่วยเหลือจากอเมริกาเป็นการทำลายสังคมไทย

| ปี 1968 – การเข้ามาตั้งฐานทัพของทหารอเมริกันในประเทศไทยเพื่อต่อสู้กับกองโจรและกลุ่มเวียดนามเหนือ การเข้ามาครั้งนี้อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยด้านการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งการเข้ามาช่วยเหลือนี้ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาวะสมดุลทางสังคมของประเทศไทย | เอกสาร บทความ

88. รหัส : H-1-4-26

รูปแบบของการติดต่อกับชาวต่างชาติ

| บทความโดย ลูเชียน แฮงส์ จากการประชุมประจำปีเกี่ยวกับชุมชนทางชาติพันธุ์ของอเมริกัน ปี 1957 แฮงส์พูดถึงการติดต่อกับชาวต่างชาติของประเทศไทย เปรียบเทียบในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 19 มีการติดต่อด้านการค้าและการทหาร การติดต่อกันของสังคมสองสังคมเกิดจากการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน เมื่อจุดประสงค์ของการแลกเปลี่ยนไม่ใช่เพียงแค่แลกเปลี่ยนสมบัติส่วนตัวของสถาบันแบบที่เคยเป็นมา รูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบใหม่จึงเกิดขึ้น | เอกสาร บทความ

89. รหัส : H-1-4-27

พระราชวังของ Surakarta Hadiningrat

| 1974 – อาณาจักร Mojopahit เป็นที่รู้จักอย่างมากของอินโดนีเซีย ผู้สืบตระกูลได้ย้ายเมืองหลวงจากชวาตะวันออกไปอยู่ที่ชวากลาง จากนั้นจึงย้ายไปที่ Kartasura และท้ายที่สุดย้ายไปที่ Surakarta Hadiningrat หนังสือนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจของ Surakarta Hadiningrat | หนังสือ

90. รหัส : H-1-4-28

ที่อยู่อาศัยของชาวมองโกล

| ลักษณะที่อยู่อาศัยของชาวมองโกล การสร้างและการตกแต่งเต๊นท์ที่พักของชาวมองโกล อารยธรรมแบบกลุ่ม Altaic | หนังสือ