เชิงอรรถอธิบาย |
1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : อนุสาวรีย์นี้ หมายถึง อนุสาวรีย์รูปปืนใหญ่ บริเวณเขาเต่า ในวัดประยูรวงศาวาส
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปีวอก เป็นปีนักษัตรลำดับที่ 9 ใน 12 นักษัตร สัญลักษณ์คือ ลิง อัฐศก คือจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 8 ซึ่งในที่นี้ก็คือ จุลศักราช 1198 ตรงกับ พ.ศ. 2379 (จุลศักราชอายุน้อยกว่าพุทธศักราช 1181 ปี ดังนั้นหากต้องการทำให้เป็นพุทธศักราช ให้นำเลขจุลศักราชบวกด้วย 1181)
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ในการฉลองวัดประยุรวงศาวาส มีพระรูปหนึ่งเอาปืนชำรุดไปทำไฟพะเนียง ปรากฏว่าปืนเกิดระเบิดขึ้นทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปฏิสังขรณ์ ความหมายในสมัยโบราณหมายถึง การรื้อถอนลงแล้วสร้างขึ้นใหม่ โดยอาจมีรูปแบบหรือตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้ ต่างจากปัจจุบันซึ่งหมายถึง การทำให้กลับคืนสู่สภาพอย่างที่เคยเป็นมา
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปีระกา เป็นนักษัตรลำดับที่ 10 ในจำนวน 12 นักษัตร สัญลักษณ์คือ ไก่ สัปตศก คือจุลศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 7 ในที่นี้คือ จ.ศ. 1247 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2428
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ปัจฉิมบุตร หมายถึง บุตรคนสุดท้าย คือ พระยาภาสกรวงศ์
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : พระยาภาสกรวงศ (ภาสกรวงศ์) (พ.ศ. 2392-2463) เดิมชื่อ พร (พร บุนนาค) เนื่องจากคลอดที่เมืองชุมพร มีชีวิตอยู่ในสมัย ร. 4-ร. 6 เป็นบุตรคนสุดท้องของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์กับหม่อมอิน ได้รับการศึกษาที่วัดประยุรวงศาวาสซึ่งเป็นวัดของตระกูลบุนนาค ต่อมาได้ไปเรียนต่อที่ประเทศอังกฤษ 3 ปี ทรงมีบทบาทในด้านการต่างประเทศ เช่น ทรงรับราชการเป็นราชเลขาธิการ เชิญพระกระแสรับสั่งเจรจากับชาวต่างชาติ เป็นเอกอัครราชทูตเป็นเสนาบดีว่าการต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศุลกากร เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เสนาบดีกระทรวงธรรมการ เป็นต้น
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : ท่านผู้สร้าง คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ (พ.ศ. 2331-2398) มีชีวิตอยู่ในสมัย ร. 1-ร. 4 เป็นบุตรของเจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) กับเจ้าคุณพระราชพันธ์ (นวล) เป็นขุนนางที่มีบทบาทมาก ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลัง ได้ยกทัพปราบกบฏและออกศึกสำเร็จหลายครั้ง เช่น ศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ ศึกเขมร, ญวน กบฏจีน นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ให้มีระบบการจัดเก็บภาษีอากรและการค้าของหลวงในสมัย ร. 3 ต่อมาในสมัย ร. 4 ได้ขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายใต้ฝ่ายเหนือทั้ง 4 ทิศ ผลงานสำคัญในช่วงเวลาดังกล่าวคือ การเจรจาเรื่องสนธิสัญญาเบาริ่ง กับประเทศอังกฤษ
|