จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกเยธมฺมาฯ บนแผ่นดินเผา (สุพรรณบุรี)

จารึก

จารึกเยธมฺมาฯ บนแผ่นดินเผา (สุพรรณบุรี) ด้านหน้า

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2564 21:59:54

ชื่อจารึก

จารึกเยธมฺมาฯ บนแผ่นดินเผา (สุพรรณบุรี)

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนแผ่นดินเผา, สพ. 2

อักษรที่มีในจารึก

ปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 11

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 7 บรรทัด ด้านหน้ามี 4 บรรทัด, ด้านหลังมี 3 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2509)

ผู้แปล

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2509)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ. ศ.2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง : คำในวงเล็บเติมให้เต็มพระบาลีมหาวรรค วินัยปิฎก อรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค อรรถกถามหาขันธกะ สารีปุตตโมคคัลลานบรรพชา
1) “เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา” มีความว่า เบญจขันธ์ ชื่อว่า ธรรม มีเหตุเป็นแดนเกิด พระเถระแสดงทุกขสัจ แก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น
2) “เตสํ เหตุ ํ ตถาคโต อาห” มีความว่า สมุทยสัจ ชื่อว่า เหตุแห่งเบญจขันธ์นั้น พระเถระแสดงว่า พระตถาคตตรัสสมุทยสัจนั้นด้วย
3) “เตสญฺจ โย นิโรโธ” มีความว่า พระตถาคตตรัสความดับคือความไม่เป็นไปแห่งสัจจะแม้ทั้ง 2 นั้นด้วย พระเถระแสดงนิโรธสัจแก่สารีบุตรนั้นด้วยคำนั้น ส่วนมรรคสัจ แม้ท่านไม่ได้แสดงรวมไว้ในคาถานี้ ก็เป็นอันแสดงแล้วโดยนัย เพราะว่าเมื่อกล่าวนิโรธ มรรค ซึ่งเป็นเหตุให้ถึงนิโรธนั้น ก็เป็นอันกล่าวด้วย อีกอย่างหนึ่ง ในบาทคาถาว่า “เตสญฺจ โย นิโรโธ” นี้ สัจจะแม้ 2 เป็นอันพระเถระแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ความดับแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น และอุบายแห่งความดับแห่งสัจจะทั้ง 2 นั้น ฉะนี้แล บัดนี้ พระเถระเมื่อจะยังเนื้อความนั้นนั่นแลให้รับกัน จึงกล่าวว่า “เอวํ วาที มหาสมโณติ” คือ พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้