จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 1

จารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:26

ชื่อจารึก

จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นน. 28, ย. 3, จารึกฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระธาตุแช่แห้ง

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2375

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

ผู้อ่าน

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ปริวรรต

เทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2530)

ผู้ตรวจ

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2530)

เชิงอรรถอธิบาย

1. เทิม มีเต็ม : “จุลศักราช 1194” ตรงกับพุทธศักราช 2375
2. เทิม มีเต็ม : “สนำ” หมายถึง ปี
3. เทิม มีเต็ม : “กัมโพช” (กัมพุช) หมายถึง แคว้นกัมโพช, แคว้นกัมพุช
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์ในหนังสือ เมืองน่าน : โบราณคดี ประวัติศาสตร์ และศิลปะ เป็น “พิไสย” แต่เมื่อตรวจสอบกับภาพจารึกในเล่มเดียวกันแล้วพบว่าเป็น “พิไสฺร”
5. เทิม มีเต็ม : “ขอมพิสัย” หมายถึง แบบขอม, อย่างขอม
6. เทิม มีเต็ม : “เหมันตา” หมายถึง ฤดูหนาว
7. เทิม มีเต็ม : “วาร” หมายถึง ครั้ง, กำหนด, วัน
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์เป็น “ปถ” แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็น “บถ”
9. เทิม มีเต็ม : “ปีเต่าสี” คือ  ปีมะโรง จัตวาศก
10. เทิม มีเต็ม : “เดือน 7 เพ็ง” หมายถึง เดือน 7 ขึ้น 15 ค่ำ
11. เทิม มีเต็ม : “เม็ง” หมายถึง มอญ
12. เทิม มีเต็ม : “ระวายสี” เป็นชื่อวันแบบหนึ่งที่ใช้ในสมัยโบราณ
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์เป็น “วิไชย” แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็น “วิไช”
14. เทิม มีเต็ม : “ปถมมูล” ในที่นี้หมายถึงผู้ริเริ่มในคราวแรกหรือผู้ที่ดำริขึ้นก่อน
15. เทิม มีเต็ม : “เป็นเค้า” ในที่นี้หมายถึงผู้ที่เป็นประธานหรือเป็นหัวหน้า
16. เทิม มีเต็ม : “ชู่คน” หมายถึง ทุกคน
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์เป็น “รุป” แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่า ตัว “ป” ซ้อนอยู่ใต้ตัว “ร”
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : คำจารึกที่ตีพิมพ์เป็น “ตำ” แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเป็น “ฅำ”