จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 1

จารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 เวลา 15:13:54

ชื่อจารึก

จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 1

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

พุทธศักราช 2327

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

ผู้อ่าน

กรมศิลปากร (พ.ศ. 2505)

เชิงอรรถอธิบาย

1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระเจ้ากรุงพระมหานครศรีอยุธยา” หมายถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ครองราชย์ พ.ศ. 2325-2352
2. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระเจ้ากรุงต้าฉิง” หมายถึง พระเจ้าเกาจง กษัตริย์ราชวงศ์ชิง ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2279-2338
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ทองสื่อใหญ่” ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้อธิบายศัพท์คำนี้ไว้ในบทความ “จารึกพระราชสาส์นสุพรรณบัฏ” ซึ่งเป็นสุพรรณบัฏของรัชกาลที่ 2 ใน ศิลปากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 6 (พ.ย.-ธ.ค. 2539) ว่า ทองสื่อ หรือ ท่องสือ เป็นชื่อตำแหน่งล่ามภาษาจีน ท่องสือใหญ่ น่าจะหมายถึงหัวหน้าล่ามภาษาจีน
4. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระสุพรรณบัฏสุวรรณพระราชสาส์น” มีการบันทึกน้ำหนักของพระสุพรรณบัฏรวมทั้งหีบห่อไว้ในสมุดไทยที่กรมศิลปากรนำมาคัดลอกว่า น้ำหนักทอง 1 ตำลึง 3 บาท 2 สลึง 1 เฟื้อง 2 อัฐ กล่องหนัก 1 ตำลึง 2 บาท 1 สลึง 4 อัฐ หูถุงหนัก 2 บาท 2 อัฐ น้ำหนักรวม 4 ตำลึง
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระราชสาส์นคำหับอักษรจีน” ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2539) อธิบายว่า หมายถึง พระราชสาส์นที่เขียนบนกระดาษสีเหลืองหรือสีส้มด้วยอักษรจีน เป็นพระราชสาส์นเคียงคู่หรือกำกับไปพร้อมกับพระราชสาส์นสุพรรณบัฏ ข้อความในพระราชสาส์นคำหับตอนต้นจะเหมือนกับข้อความในพระราชสาส์นสุพรรณบัฏทุกประการ แต่จะมีข้อความเพิ่มเติมต่อไปอีก เป็นรายการสิ่งของเครื่องมงคลราชบรรณาการที่จัดส่งไปพร้อมกับพระราชสาส์นสุพรรณบัฏ การที่ต้องมีพระราชสาส์นคำหับกำกับไปด้วยก็เพราะพระราชสาส์นสุพรรณบัฏทำด้วยทองคำ อักษรที่จารึกอ่านยาก อีกทั้งราคาแพงหากทำเป็นแผ่นใหญ่จะต้องสิ้นเปลืองมากด้วย
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : การส่งเครื่องราชบรรณาการแด่กษัตริย์จีนที่เรียกว่า “จิ้มก้อง” นั้น เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานาน เนื่องจากหากชาติใดต้องการติดต่อค้าขายกับจีน จะต้องมีพระราชสาส์นและเครื่องบรรณาการไปเจริญพระราชไมตรีก่อน จึงจะได้รับความสะดวก ดังนั้นประเทศต่างๆทั้งทางตะวันออกและตะวันตก จึงมีการส่งสาส์นและเครื่องบรรณาการเพื่อเป็นใบเบิกทางในการค้าอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยได้ยกเลิกการปฏิบัติดังกล่าวในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีการลงมติในที่ประชุมรัฐมนตรีสภาให้เลิกติดต่อกับจีนโดยเด็ดขาด เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 4 ทางฝ่ายไทยได้ทราบถึงความเป็นจริงว่า ที่ผ่านมาประเทศจีนเข้าใจผิด คิดว่าไทยยอมเป็นเมืองขึ้น ในขณะที่ทางฝ่ายไทยปฏิบัติตามประเพณีดังกล่าวเพื่อสัมพันธไมตรีและผลประโยชน์ทางการค้าเท่านั้น