จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกที่เสาวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 8 (ช้าง 10 หมู่)

จารึก

จารึกที่เสาวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 8 (ช้าง 10 หมู่) ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2563 10:52:07

ชื่อจารึก

จารึกที่เสาวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม 8 (ช้าง 10 หมู่)

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 6 บรรทัด

ผู้อ่าน

สัจจรัตน์ สุขในมณี (พ.ศ. 2543)

ผู้ตรวจ

รศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม (พ.ศ. 2543)

เชิงอรรถอธิบาย

1. สัจจรัตน์ สุขในมณี : “ช้าง 10 หมู่” หรือ ช้าง 10 ตระกูล ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัย ได้แก่ กาฬาวกหัตถี (ช้างดำ) คังเคยยหัตถี (ช้างที่เกิดแถบแม่น้ำคงคา) ปัณฑรหัตถี (ช้างเผือก) ตัมพหัตถี (ช้างแดง) ปิงคลหัตถี (ช้างเหลือง) คันธหัตถี (ช้างที่มีกลิ่นหอม) มงคลหัตถี(ช้างที่เดินงาม) เหมหัตถี (ช้างสีเหลืองดั่งทอง) อุโบสถหัตถี (ช้างสีทอง) และ ฉัททันตหัตถี (พญาช้าง) ช้างเหล่านี้มีกำลังมากกว่ากัน 10 เท่าตามลำดับ อาศัยอยู่ในป่ากรรณิการ์ดอกขาวบริเวณภูเขาทองที่แวดล้อมสระฉัททันต์
2. สัจจรัตน์ สุขในมณี : “กัณมุณทะมหาสระ” ในคัมภีร์ไตรภูมิโลกวินิจฉัย คือ สระกัณณมุณฑะ เป็นสระหนึ่งใน 7 มหาสระที่อยู่ในป่าหิมพานต์
3. สัจจรัตน์ สุขในมณี : “สุปาระกะบัณดิตย์” คือ สุปารกบัณฑิต (จาก สุปารกชาดก) สุปารกะเป็นนายเรือที่มีชื่อเสียง อาศัยอยู่ที่เมืองสุปารกะวันหนึ่งพ่อค้าได้ขอร้องให้ร่วมเดินทางไปด้วย เรือดังกล่าวถูกพายุพัดไปยังอีกทะเลหนึ่ง คนบนเรือพากันตกใจกลัวเนื่องจากมีเสียงกึกก้องมาจากทะเล สุปารกะจึงอธิษฐานถึงพระพุทธเจ้า ทันใดนั้นพายุและคลื่นก็สงบลง และเรือก็ถึงที่หมายอย่างปลอดภัย