พิธีไหว้ผีอารักษ์และพิธีแต่งงานของชาวลัวะ

ขอบเขตและเนื้อหา :

ภาพถ่ายจำนวน 171 ระเบียน ชุดนี้ ถ่ายเมื่อครั้ง ศ.ดร.อานันท์ ลงพื้นที่เพื่อศึกษาพิธีไหว้ผีอารักษ์และพิธีแต่งงานของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ในปี พ.ศ. 2530 ภาพถ่ายแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตประจำวันของชาวลัวะ การแต่งกาย การทอผ้า สภาพบ้านเรือน ขั้นตอนของพิธีกรรมไหว้ผีอารักษ์ ผู้ร่วมพิธีกรรม สิ่งที่ใช้ในการประกอบพิธีเซ่นไหว้ เครื่องเซ่นไหว้ สถานที่ประกอบพิธีกรรม รวมไปถึงความเชื่อที่แฝงอยู่ในพิธีกรรม นอกจากนี้ยังมีภาพถ่ายพิธีแต่งงานระหว่างชาวลัวะและชาวกะเหรี่ยง โดยภาพถ่ายแสดงให้เห็นพิธีแต่งงาน ขั้นตอนของพิธี ผู้ประกอบพิธี แขกที่มาร่วมงาน การแต่งกาย อาหาร การละเล่น และความเชื่อ

คลังเก็บเอกสาร : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอบเขตและสื่อ : ภาพถ่าย 171 ระเบียน

แหล่งที่มาของเอกสาร : บริจาคโดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ , ปี พ.ศ. 2551

การจัดเรียงเอกสาร : ชุดเอกสารจำแนกตามประเด็นในการศึกษา

เงื่อนไขการเข้าถึง ทำซ้ำและดัดแปลงข้อมูล : ไม่มีข้อจำกัดในการใช้

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ : Attribution (CC BY)

ข้อกำหนดการใช้ข้อมูลภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม : Traditional Knowledge Attribution (TK A)

ภาษา : อังกฤษ/ไทย

อักษร : อังกฤษ/ไทย

ระบบในการจัดเรียงเอกสาร : อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร

61. รหัส : AG-1-1/3-61

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 – หญิงชาวลัวะกำลังทอผ้าอยู่ที่ชานบ้าน ลักษณะการทอแบบนั่งเป็นวิธีการทอที่เก่าแก่ โดยการใช้กี่ทอผ้าผูกกับเอวแล้วนั่งทอ | สไลด์

63. รหัส : AG-1-1/3-63

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 – หญิงชาวลัวะ สะพายตระกร้าไว้ที่หลังเพื่อไปเก็บฟืน | สไลด์

64. รหัส : AG-1-1/3-64

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 – หญิงชาวลัวะ สะพายตระกร้าไว้ที่หลังเพื่อไปเก็บฟืน | สไลด์

65. รหัส : AG-1-1/3-65

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 –ชายชาวลัวะกำลังทำตะแหลว (สัญลักษณ์ของการขับไล่สิ่งชั่วร้าย) ทุกหลังคาเรือนจะต้องทำตะแหลวเพื่อนำไปปักไว้บริเวณทางเข้าบ้าน เพราะเมื่อทำพิธีไหว้ผี จะมีการ “เข้ากรรมบ้าน” คือ ปิดหมู่บ้านไม่ให้คนในออกคนนอกเข้าเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ดังนั้นตะแหลวจึงเป็นสิ่งแสดงอาณาเขตพื้นที่ที่มีการประกอบพิธีกรรม และขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป | สไลด์

66. รหัส : AG-1-1/3-66

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 –ชายชาวลัวะกำลังทำตะแหลว (สัญลักษณ์ของการขับไล่สิ่งชั่วร้าย) ทุกหลังคาเรือนจะต้องทำตะแหลวเพื่อนำไปปักไว้บริเวณทางเข้าบ้าน เพราะเมื่อทำพิธีไหว้ผี จะมีการ “เข้ากรรมบ้าน” คือ ปิดหมู่บ้านไม่ให้คนในออกคนนอกเข้าเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ดังนั้นตะแหลวจึงเป็นสิ่งแสดงอาณาเขตพื้นที่ที่มีการประกอบพิธีกรรม และขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป | สไลด์

67. รหัส : AG-1-1/3-67

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 –ชายชาวลัวะกำลังทำตะแหลว (สัญลักษณ์ของการขับไล่สิ่งชั่วร้าย) ทุกหลังคาเรือนจะต้องทำตะแหลวเพื่อนำไปปักไว้บริเวณทางเข้าบ้าน เพราะเมื่อทำพิธีไหว้ผี จะมีการ “เข้ากรรมบ้าน” คือ ปิดหมู่บ้านไม่ให้คนในออกคนนอกเข้าเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ดังนั้นตะแหลวจึงเป็นสิ่งแสดงอาณาเขตพื้นที่ที่มีการประกอบพิธีกรรม และขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไป | สไลด์

68. รหัส : AG-1-1/3-68

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 – สิ่งที่แสดงสัญลักษณ์ว่าเป็นบริเวณที่ผีเรือนอยู่ คนลัวะจะเชื่อว่ามีผีอยู่ตามที่ต่างๆ | สไลด์

69. รหัส : AG-1-1/3-69

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 – หอผีขนาดเล็กที่อยู่ข้างบ้าน หอผีจะมีอยู่หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นที่เชิงบันได ข้างบันได เหนือบันได หน้าบันไดบ้าน หรือที่ติดกับชายคาข้างหน้าตรงจะขึ้นบันได ผีบันได | สไลด์

70. รหัส : AG-1-1/3-70

พิธีไหว้ผีอารักษ์ของชาวลัวะ บ้านดง อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน

| ปี พ.ศ.2530 – บ่อน้ำที่ใช้ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน | สไลด์