เอกสารจดหมายเหตุ

ทั้งหมด : 34,847 ระเบียน

View |

งานวิจัยบ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2523-2524 ระบบการจัดการในการทำนา เมื่อข้าวเริ่มงอกต้องถ่ายน้ำออกเพื่อให้ข้าวเริ่มตั้งตัว จากนั้นจึงผันน้ำเข้าไปใหม่ พอข้าวเริ่มตั้งท้องจึงเอาน้ำออก และเมื่อข้าวตั้งท้องพอดีจะผันน้ำเข้าไปอีก

งานวิจัยบ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2523-2524 ตะแหลวปักอยู่ตามคันนา เป็นสัญลักษณ์ที่เชื่อว่าขับไล่ไม่ให้สิ่งชั่วร้ายมาทำลายนาข้าว

งานวิจัยบ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2523-2524 การเก็บเกี่ยวข้าวนาปีที่ล้ม การเก็บเกี่ยวตอนนาปีหากข้าวล้มเพราะโดนฝนหรือลมจะเก็บเกี่ยวยาก ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเหนียวสันป่าตอง

งานวิจัยบ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2523-2524 การเก็บเกี่ยวข้าวนาปีที่ล้ม การเก็บเกี่ยวตอนนาปีหากข้าวล้มเพราะโดนฝนหรือลมจะเก็บเกี่ยวยาก ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวไวต่อแสง คือปลูกเมื่อเวลาใดก็ตามต้องเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาเดิม ประมาณเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม

งานวิจัยบ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2523-2524 ภาพการเกี่ยวข้าว ชาวบ้านที่มาเกี่ยวข้าวเป็นคนจากครัวเรือนนั้นหรืออาจมาจากการเอามื้อเอาวัน (ลงแขก) หรือจ้างมา

งานวิจัยบ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2523-2524 ภาพของแรงงานที่มาช่วยกันหรือจ้างมาเกี่ยวข้าว ชายคนที่สองจากซ้ายเป็น “หัวแข็ง” คือหัวหน้าคนงาน เป็นคนที่คอยคุมแรงงานและต่อรองเรื่องส่วนแบ่งที่ได้จากการเกี่ยวข้าว (หากมีภาพถ่ายเป็นพาโนรามาจะเห็นแถวหน้ากระดานของแรงงานที่มาช่วยกันเกี่ยวข้าวจำนวนมากเต็มท้องนา)

งานวิจัยบ้านสันโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

ปี พ.ศ. 2523-2524 ภาพหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว จะนำข้าวมามัดแล้วใช้ตอกเสียบ จากนั้นตากไว้ให้ข้าวแห้งสนิท